การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อหินวัดด้วยเครื่องวัดความดันลูกตาแบบ Noncontact tonometer และเครื่องวัดความดันลูกตาแบบ Tonopen tonometer ในผู้ป่วยที่มีปัญหา

ผู้แต่ง

  • พิสมัย สัตนาโค โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคต้อหิน, การพยาบาลโรคต้อหิน, เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อหินที่ปัญหาการมองไม่ชัดมีภาวะซับซ้อนคัดกรองด้วย Noncontact tonometer และ Tonopen tonometer : 2 cases study

รูปแบบการวิจัย : กรณีศึกษา 2 ราย (Cases study)

วัสดุและวิธีวิจัย : การเลือกผู้ป่วยโรคต้อหินที่ปัญหาการมองไม่ชัดมีภาวะซับซ้อน ที่มารับบริการในห้องตรวจผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลร้อยเอ็ดเป็นการเจาะจง เลือกผู้ป่วยต้อหินที่มีภาวะแทรกซ้อนและเสี่ยงตาบอดสูง ในบริบทที่แตกต่างกันแบบผสมผสาน มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมินสภาพ ซัก ประวัติ ข้อมูลร่วมวางแผนการปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุป และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะรายตรวจร่างกาย ผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม วิเคราะห์โดยนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีทางการพยาบาล และแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม รวมทั้งกระบวนการพยาบาล การวางแผนทางการพยาบาลร่วมกับการปฏิบัติการพยาบาล ประเมินผลการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง วางแผนจำหน่ายแบบ DMETHOD มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยตามปัจเจกบุคคล จากนั้นปรับปรุงแก้ไข ตามกระบวนการพยาบาลจนถึงกลับบ้าน

ผลการศึกษา : ผลการพบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินได้รับการตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Non-contact tonometer เหมือนกัน จากประวัติกรณีศึกษารายที่ 1 อายุ 53 ปี เคยมีประวัติผ่าตัดต้อกระจกมาก่อน ครั้งนี้เป็นการกลับตรวจต่อเนื่อง มีโรคประจำตัว คือ โรคไทรอยด์ กรณีศึกษารายที่ 2 อายุ 58 ปี เป็นต้อหินตามนัด มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยโรคต้อหินได้รับการตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Non-contact tonometer มาเข้ารับการรักษาตามนัดหมาย ไม่มีการเลื่อนนัดซึ่งรายที่ 2 มาตรวจก่อนนัดเนื่องจากอาการปวดมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ : การดูแลรักษาจนปลอดภัยจากอาการที่เกิดจากโรคต้อหินที่มีความดันลูกตาสูง สามารถคงสภาพของลูกตาไว้แต่ปัญหาการมองเห็นของผู้ป่วยยังคงสภาพเดิมซึ่งมีอาการมัว มองไม่ชัด จากความรุนแรงของโรคประจำตัวและโรคต้อหิน พยาบาลผู้ดูแลได้ให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะการดูแลของญาติให้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้และผู้ป่วยกลับบ้านได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ, อุษณีย์ เหรียญประยูร, อนิตา มนัสสากร. ตำราพื้นฐานการผ่าตัดต้อกระจก Fundamentals of Cataract Surgery. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์. จักษุวิชาการ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย; 2561.

สุปราณี เสนาดิสัย. การพยาบาลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง; 2558.

องุ่น น้อยอุดม, ปิยาณี ณ นคร และสุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ Adult and Gerontological Nursing. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.

อติพร ตวงทอง, วณิชา ชื่นกองแก้ว, อภิชาต สิงคาลวณิช. ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช สำนักงานคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01