การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อรุณี วิชิต โรงพยาบาลพล

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาแนวทางการใช้กระบวนการพยาบาลในผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงในระยะคลอด

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้คลอดที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง จำนวน 2 ราย ที่มารับบริการงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น มีการประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและใช้กระบวนการพยาบาลเป็นกรอบในการศึกษาผู้คลอดครอบคลุมระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและระยะหลังคลอด (2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด) รวมทั้งการพยาบาลทารกแรกเกิด

ผลการศึกษา : พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ อายุ 20 ปี ตั้งครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ 36+3 สัปดาห์ ไม่ได้ฝากครรภ์ มาด้วยอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัวมีอาเจียน 1 ครั้ง ขณะให้การดูแลรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีอาการชัก 1 ครั้ง แพทย์วินิจฉัย Eclampsia ให้การรักษาโดยให้ยาป้องกันการชัก แมกนีเซียมซัลเฟตและยาลดความดันโลหิต ส่งต่อห้องคลอดเพื่อเตรียมผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน  ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 31 ปี ตั้งครรภ์ที่ 3 อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ตามนัด ตรวจพบมีความดันโลหิตสูง แพทย์วินิจฉัยเป็น Preeclampsia with severe features จึงส่งต่อห้องคลอดเพื่อรับไว้รักษา โดยให้ยาป้องกันการชักแมกนีเซียมซัลเฟต และยาลดความดันโลหิต และยุติการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอด ผู้คลอดกรณีศึกษาทั้ง 2 รายและทารกแรกเกิดปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าภาวะครรภ์เป็นพิษหากไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ และทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลห้องคลอดต้องมีความรู้ และทักษะในการประเมินภาวะเสี่ยงที่รวดเร็ว รายงานแพทย์ได้ทันท่วงที มีความรู้เรื่องการบริหารยา จะทำให้ลดความรุนแรงและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงได้ส่งผลให้มารดาและทารกปลอดภัย

References

สุพัตรา ศิริโชติยกุล, ธีระ ทองสง. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน : ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่ง; 2564.

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556-2558. แนวทางปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/09/OB-018-การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ.pdf

เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. ครรภ์เป็นพิษและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/33344/

กรมอนามัย. สถิติสาธารณสุขอัตราส่วนการตายมารดาไทย. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทวงสาธารณสุข; 2566.

รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์, สุชยา ลือวรรณ. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topicreveiw/6655

สุรีย์พร กฤษเจริญ. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. ใน: สุนันทา ยังวาณิชเศรษฐ์ และคณะ. การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01