การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ชนิดรุนแรงร่วมกับมีการใช้สารแอมเฟตามีน: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ฐิภัทรวีณ ธนรินณิรัชญ์ โรงพยาบาลพล

คำสำคัญ:

การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอด, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, การใช้สารเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีการใช้สารแอมเฟตามีน: กรณีศึกษา 2 ราย

วิธีการศึกษา : ศึกษามารดาจำนวน 2 ราย ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์มารดาและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต และจากเวชระเบียน ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลมารดาตามขั้นตอนกระบวนการพยาบาล ได้แก่ 1) การประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 2) การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล 3) การพยาบาล และ 4) การประเมินผลพยาบาล 

ผลการศึกษา : มารดากรณีศึกษารายที่ 1 และรายที่ 2 พักรักษาในโรงพยาบาล 3 วัน และ 4 วันตามลำดับ มารดากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลทำให้ปลอดภัยจากภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะการถอนยา ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทารกทั้ง 2 รายมีน้ำหนักตัวน้อย แต่แข็งแรงดี ดูดนมผสมได้ ไม่เกิดภาวะถอนยา

สรุปและข้อเสนอแนะ : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลต้องมีความรู้และทักษะในการใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอนในการดูแลมารดาและทารกตามมาตรฐานให้มีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://externinternguide.files.wordpress.com/2018/03/og6-preeclampsiaeclampsiaexin.pdf

กิติพร กางการ. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(2):23-35.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์. ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2560.

สมฤดี กีรตวนิชเสถียร, ภารดี ชาวนรินทร์, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย. บทบาทของพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2562;25(4):112-25.

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. การพยาบาลมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: เอส.พี.เอส.พริ้นติ้ง; 2552.

พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์. การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วิสัญญีสาร. 2562;45(3),124-31.

สุชาดา เตชวาทกุล. บทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์. วารสารเกื้อการุณย์. 2558;22(2):7-19.

พรทิพย์ หอมเพชร, พิศมัย กองทรัพย์, น้องนุช แสนบรรดิษฐ์. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอดที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดการกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารโรงพาบาลสกลนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-31 — Updated on 2024-01-31

Versions