การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย: กรณีศึกษาผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สมหวัง นันตะก้านตง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการพยาบาลและเปรียบเทียบอาการ ภาวะแทรกซ้อน แผนการรักษา การพยาบาล และความช่วยเหลือตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 2 ราย

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2565 – 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบ พยาธิสภาพและอาการแสดงของผู้ป่วย แผนการรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแผนสุขภาพ 11 แบบของกอร์ดอน และวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และช่วยเหลือตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาพบประเด็นที่คล้ายกัน 5 ประเด็น ได้แก่ 1) เพศหญิง 2) มีโรคร่วม โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3) ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องและติดตามการรักษาทุกเดือน 4) มีภาวะน้ำเกิน 5) มีอาการ บวม หายใจหอบ นอนราบไม่ได้ ก่อนมาโรงพยาบาล และ 6) มีฐานะยากจนได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐานผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ คือ สนับสนุนค่าพาหนะเดินทาง ค่าอาหารผู้ป่วยและญาติกรณีไปรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เดือนละไม่เกิน 2 ครั้ง ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิกรณีไปพบแพทย์ตรวจติดตามอาการ ส่วนประเด็นที่แตกต่าง คือ ผู้ป่วยรายที่ 1 ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง Run CAPD 2.5%PDFX4 cycle และเป็นผู้ดูแลพาผู้ป่วยรายที่ 2 ไปรับการทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีความต้องการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน คือ ในรายที่ 1 มีภาวะปอดบวมร่วมกับการหายใจล้มเหลวได้ใส่ท่อช่วยหายใจและภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมด้วย มีภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง และเสี่ยงต่อการสูญเสียภาพลักษณ์ คุณค่าของตนเองลดลงเนื่องจากการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ส่วนรายที่ 2 มีปัญหาภาวะหัวใจโตจากความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุร่วมกับภาวะน้ำเกิน

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้พยาบาลมีสมรรถนะในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์มีความปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตดีเพิ่มขึ้น

References

ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดปลูกถ่ายไต : กรณีศึกษา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(3):589-99.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. บทบาทพยาบาลในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2561;1(1):46-57.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังของประเทศไทยปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12ก.พ.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=main/index/

เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(2):95-110.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ (บ.ก.). เวชบำบัดภาวะวิกฤตทางอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี; 2555.

ศศี ศรีโชติ. กรณีศึกษาเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับการผ่าตัดทำหลอดเลือดล้างไตโดยการผ่าตัดเชื่อมเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงโดยใช้เส้นเลือดเทียมเป็นตัวเชื่อม (Arteriovenous graft : AVG) ในระยะเตรียมก่อนผ่าตัดและระยะตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา; 2566.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง; 2565.

งานกิจกรรมพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติผู้รับบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โรงพยาบาลร้อยเอ็ดปี พ.ศ.2565 – 2566; 2566.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill; 1994.

กลุ่มพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. คู่มือการดำเนินงานผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม จังหวัดเชียงใหม่; 2565.

นฤมล แก่นสาร. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(2):81-91.

ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา (บ.ก.). แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ.2562. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2562.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. บทบาทพยาบาลในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2561;1(1):46-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-26 — Updated on 2024-01-26

Versions