This is an outdated version published on 2024-01-26. Read the most recent version.

การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหัวใจ: พหุกรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิศมัย นิลสุ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยรายกรณี, โรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหัวใจ, พหุกรณีศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการพยาบาลและเปรียบเทียบอาการ ภาวะแทรกซ้อน การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วม และมีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหัวใจที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 2 ราย ที่มีความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคล ความรุนแรงแรงของโรคและความต้องการพยาบาล

วัสดุและวิธีการวิจัย : กรณีศึกษานี้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหัวใจที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำนวน 2 ราย ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566                เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูล แนวคำถามการสัมภาษณ์ผู้ป่วย และญาติ หัวหน้างาน แบบสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหัวใจ 2 ราย กรณีศึกษารายที่ 1ผู้ป่วยชายไทยอายุ 74 ปีรับผู้ป่วย จากคลินิกไตด้วยอาการ เหนื่อยเพลียเท้าซ้ายบวม 2+ มีไขมันในเลือดสูงโรคเก๊าท์และภาวะแทรกซ้อนภาวะไตล้มเหลวระยะที่ 4 ผู้ป่วยสูบบุหรี่วันละ 20 มวนต่อวันเป็นระยะเวลา 20 ปีขณะนี้เลิกสูบบุหรี่แล้วมาได้ประมาณ 5 เดือน ชอบอาหารมัน เค็ม ไม่ชอบออกกำลังกาย กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 69  ปี มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง ร่วมกับไขมันในเลือดสูง รับยาตามนัด 3 เดือน ไม่เคยสูบบุหรี่ ก่อนมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย มาพบแพทย์ตามนัด แพทย์ให้ตรวจคลื่นหัวใจ พบความผิดปกติ ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อทำการสวนหัวใจ หลังทำหัตการ อาการดีขึ้นไม่มีเจ็บแน่นหน้าอกแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนมีการรับประทานยาและมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

References

กชพร เขื่อนธนะ, จินตนา แสงจันทร์, รมิดา เชาว์ชวาเขต, ภัทรพล ดู่ผัด, จุฑามาศ ชาวส้าน. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(2):273-85.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)...โรคที่เกิดจากพฤติกรรม [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may2016/ncds-non-communicable- diseases-symptoms-prevention

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2566.

คลินิกความดันโลหิตสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สรุปผลการดำเนินงานคลินิกความดันโลหิตสูงประจำปี 2565-2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2566.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

วรรณี บุญศิริ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมและมีภาวะติดเตียงในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562;2(2):69-82.

ฐิตสุดา สว่างบุญรอด. การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีเบาหวานเป็นโรคร่วมและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต: กรณีศึกษา. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.inb.moph.go.th/MyPDF/24.pdf

นวพร วุฒิธรรม. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 2562;46(4):173-82.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนต์ ดีไซน์; 2564.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด. 2560.

ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลหรือ HRMS หลักสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร. [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.humanica.com/th/humanresources-management-system/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-26

Versions