การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, การพยาบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย
วัสดุและวิธีการศึกษา : ได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกายวิภาค สรีรวิทยา ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง การวินิจฉัยโรค การรักษา ข้อมูลเกี่ยวกับยาในการศึกษาใช้แนวคิดทฤษฎีกระบวนการพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพ การพยาบาลเกี่ยวกับบุคคล FANCAS
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 74 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว มาโรงพยาบาลด้วยอาการซึมไม่พูด มีแขนขาข้างขวาอ่อนแรง วินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน และส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลพล ถ่ายภาพรังสีสมอง พบว่ามีภาวะขาดเลือดเฉียบพลันมีการอุดกั้นของหลอดเลือด Middle cerebral ได้ให้ยาละลายลิ่มเลือด (Rt-PA) พบปัญหาคือเกิดภาวะหายใจล้มเหลว หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ให้การรักษาใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยได้รับรักษาและการส่งต่อเพื่อให้การรักษาที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 51 ปี มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง มาโรงพยาบาลด้วยอาการแขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง พูดเป็นคำๆ ถ่ายภาพรังสีสมองพบว่ามีภาวะขาดเลือดที่ตำแหน่ง Basal ganglia วินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก พบปัญหาคือภาวะความดันโลหิตสูง โพแทสเซียมในเลือดต่ำ ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เครียดจากการเจ็บป่วย ผู้ป่วยได้รับการรักษาและส่งต่อเพื่อให้การรักษาที่มีศักยภาพสูงกว่า พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 2 ราย มีระดับความรุนแรงต่างกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติด้านการรับรู้ สติปัญญา ด้านการพูดสื่อสาร ด้านการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และได้ มีผลต่อการเกิดโรคได้ ดังนั้นพยาบาลควรสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วยโรค NCD การมาตรวจตามนัด และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
References
สมศักดิ์ เทียมเก่า. คู่มือระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครือข่ายจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2562; 2562.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2566;39(2):39-46.
คณะกรรมการการพัฒนาคลินิกบริการ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คู่มือการนิเทศการใช้กระบวนการพยาบาล; 2559.
สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประเมิน; 2566.
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง MOPH ED. Triage. นนทบุรี; 2561.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-24 (2)
- 2024-01-24 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง