การวิจัยและพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมง หลังคลอด ในโรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ ชินคำ โรงพยาบาลโพนทอง
  • บุญรัตน์ เกตุวร โรงพยาบาลโพนทอง
  • ราตรี พลเยี่ยม โรงพยาบาลโพนทอง

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมง, หลังคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด  

รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอดและพยาบาลวิชาชีพ 11 คน และกลุ่มมารดาหลังคลอดที่คลอดทางช่องคลอดทั้งกลุ่มมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : (1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในกลุ่มมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด (2) พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอดได้ทุกข้อ (100.00%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลส่งผลให้การดูแลมารดาหลังคลอดได้ตามมาตรฐาน  

References

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560;6(2):146-54.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการตายและสาเหตุการตายของมารดาทั่วประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th

โรงพยาบาลโพนทอง. ผลการดำเนินงานตามมยุทธศาสตร์สาธารณสุขประจำปี พ.ศ.2565. งานยุทธศาสตร์; 2565.

ปทุมมา กังวานตระกูล, อ้อยอิ่น อินยาศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ในห้องคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ. 2560;33(3):127-41.

ณฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557;32(2):37-46.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาดา วิภวกานต์, อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดและหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):127-41.

นววรรณ มณีจันทร์, อุบล แจ่มนาม. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทาง คลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารการแพทย์เขต 11. 2560;31(1):143-55.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักการพยาบาล. เกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล; 2553.

Titler M G, Kleiber F C, Steelman V J, Rakel B A, Budreau G, Everett L Q, et al. The Iowa model of evidence–based practice to promote quality care. Critical Care Nursing Clinics of North America. 2001;13:497–509.

กรรณิการ์ ทุ่นศิริ. ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีษะเกษ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(4):115-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-18