การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในโรงพยาบาลโพธิ์ชัย และเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • นัชรีวรรณ สีหานาม โรงพยาบาลโพธิ์ชัย
  • ธิดาวัลย์ ทาพรมมา โรงพยาบาลโพธิ์ชัย
  • ภัทรีพร ภูมิฐาน โรงพยาบาลโพธิ์ชัย

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรค, วัณโรคปอดรายใหม่, ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในโรงพยาบาลโพธิ์ชัย และเครือข่าย

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ร่วมการวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบและประเมินผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม การปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Percentage differences และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ เช่น ด้านผู้ป่วยวัณโรค ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านผู้สัมผัสและด้านการให้บริการสาธารณสุข ระยะพัฒนาระบบเกิดกระบวนการพัฒนา 2 วงรอบ ได้แก่ (1) การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และผู้สัมผัสร่วมบ้าน (2) การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนจากกลุ่มเสี่ยงต่างๆ อย่างรวดเร็ว (3) การรักษาอย่างต่อเนื่อง (4) การควบคุมแหล่งและการทำลายสิ่งปฏิกูลในชุมชน (5) การประสานงานส่งต่อข้อมูลทั้งสถานบริการและในชุมชนเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค และ (6) สะท้อนการปฏิบัติงานและเรียนรู้การทำงานร่วมกันในเครือข่าย และผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสร่วมบ้านมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติเพิ่มขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรนำระบบดังกล่าวมาใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      

References

World Health Organization. Treatment of tuberculosis guidelines for treatment of drug-susceptible tuberculosis and patient care 2021 update. Geneva, Switzerland: WHO/HTM/TB; 2021.

สำนักวัณโรค สถาบันบำราศนราดูร. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไชน์; 2564.

โรงพยาบาลโพธิ์ชัย. รายงานการประเมินตนเอง (SAR 2022). กลุ่มการพยาบาล; 2565.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559–2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

Kemmis S. Action research as a practice-based practice. Educational Action Research. 2009;17(3):463-74.

พชรพร ครองยุทธ, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย, เจษฎา สุราวรรณ์, จักรกริช ไชยทองศรี, กชมน นรปติ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1):15-27.

วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.

สุภาภรณ์ มิตรภานนท์, รัชนี ระดา, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2563;3(3):164-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-17