การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ 12 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 30 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 30 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรอบรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรอบรู้ทางสุขภาพในระดับรู้จัก (63.33%) 2) ระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย (1) การคัดกรองผู้ป่วย (2) การประเมินความรอบรู้ และ (3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และ 3) ผลลัพธ์การดำเนินงานพบว่า หลังพัฒนามีความรอบรู้สุขภาพแตกต่างจากก่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้ง 8 ด้าน คือ 1) ด้านความต้องการความช่วยเหลือด้านข้อมูลสุขภาพ 2) ด้านการอ่านศัพท์พื้นฐาน 3) ด้านความสามารถในการอ่านและเข้าใจตัวเลข 4) ด้านความสามารถในการเข้าถึงหรือแสวงหาข้อมูลสุขภาพ 5) ด้านความรู้ความเข้าใจ 6) ด้านการปฏิบัติในกรณีถูกถามปัญหาต่าง ๆ 7) ด้านการตัดสินใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติในอนาคตหรือเงื่อนไขการใช้ชีวิต และ 8) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (p<.001, p<.001, p<.001, p<.001, p<001, p=.004, p=.022 และ p<.001) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น ควรส่งเสริมความรอบรู้ให้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29611& deptcode=bro
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/the-chart-1/2018-02-9-00-17.34
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ef. Victoria : Deakin University press; 1988.
กองสุขศึกษา ประเทศไทย. แบบวัดระดับความรู้แจ้งแตกฉานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (ความรอบรู้) ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: hed.go.th/news/5523.
นวพร ทุมแถว. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
วศิน ทองทรงกฤษณ์. การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2565;19(1):1-14.
รุ่งนภา จันทรา, ชุลีพร หีตอักษร, สุทธานันท์ กัลกะ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง. ความแตกฉานด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2563;30(2):177-89.
กรเกล้า รัตนชาญกร, ปาฬินทร์รฎา ธนาพันธ์ธิวากุล, เกล้ากร รัตนชาญกร. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2566;10(1):85-97.
จุฑาพร เกษมภักดีพงษ์, ศิริพร เทพสูตร, ปฏิภาส สาแช. พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุขศึกษาและสื่อสารสุขภาพ. 2558;1(1):30-42.
ชูสง่า สีสัน, ธณกร ปัญญาใสโสภณ. ผลของโปรแกรมความรู้แตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2563;6(2):155-69.
กรฐณธัช ปัญญาใส, พิชามญชุ์ ภูเจริญ, ณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560;28(1):51-62.
อารีย์ แร่ทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562;15(3):62-70.
แสงเดือน กิ่งแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;25(3):43-54.
บุศรินทร์ ผัดวัง. การติดตามผลลัพธ์ระยะยาวในการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง : กรณีศึกษา บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;9(1):43-51.
วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-15 (2)
- 2024-01-15 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง