ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ผู้แต่ง

  • นุสกร เนืองษา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • วนิดา วงษ์ตา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ชวนพิศ เสิกนาค โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ประภัสสร เกตุศรี โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน เป็นผู้มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษา ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 95% Confidence Interval

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) โดยมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมมากกว่า 1.24 คะแนน (95%CI; 0.96, 1.52) และมีค่าเฉลี่ยระดับไขมัน LDL ในเลือด ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.029) โดยมีค่าระดับไขมัน LDL ในเลือดน้อยกว่า 15.96 มก./ดล. (95%CI; 1.73, 30.19)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้น และระดับไขมันในเลือดเปลี่ยนแปลงลดลง

References

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2553-2557. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษร กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1):66-83.

Creer T. Self-management of chronic illness. In: Boekaerts M, Pintrich PR, Zeidner M, editors. Handbook of self-regulation. 2000:601-29.

สุปราณีย์ ฟูสุวรรณ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, จรัส สิงห์แก้ว. ปัจจัยทำนายระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชน. พยาบาลสาร. 2559;43:79-89.

พรพรรณ ทัศนศร, สุมัทนา กลางคาร, พีรศักดิ์ ผลพฤกษา. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาลทหารบก. 2555;13(2):49:59.

ทัชนิดา ทรัพย์กรานนท์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

ธนิดา โอฬาริกชาติ, ปิยะนุช จิตตนูนท์, ไหมไทย ศรีแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรม สุขภาพและระดับไขมันในเลือดของพนักงานโรงแรมที่มีภาวะไขมัน ในเลือดสูง. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์. 2559;36(ฉบับพิเศษ):99-116.

สุรัชวดี รักด้วง. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ภาวะสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ.กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562;1(1):7-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-11 — Updated on 2024-01-12

Versions