ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของประชาชนที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กัลย์ชิสา เตชะเรืองภิรมย์ โรงพยาบาลเขาย้อย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรม, การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของประชาชนที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 386 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย : พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.3 (Mean=59.65, SD.=6.43) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ทัศนคติต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ และการรับรู้ความเสี่ยงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ (p=.001, .002 และ .005 ตามลำดับ) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.3 (R2=.233)  

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนผู้มารับบริการให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ตลอดจนสื่อสารเรื่องความเสี่ยงจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนผู้มารับบริการมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลต่อไป

References

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อนุทินประชุมคณะกรรมการเชื้อดื้อยา ตั้งเป้าลดปัญหาเชื้อดื้อยา 10%. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2158

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. หนุนจัดทำแผนยุทธศาสตร์จัดการเชื้อดื้อยา ระยะที่ 2 ส่งต่อความรู้ กระตุ้นสังคมใช้ยาอย่างเหมาะสม. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

กรมการแพทย์. รณรงค์ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ลดปัญหาเชื้อดื้อยา.[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

ช่อผกา นาคมิตร. ความชุก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงปลอมปนสเตียรอยด์ในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Thai Bull Pharm Sci. 2563;15(2):81-94.

กมลรัตน์ นุ่นคง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.

อัมพร ยานะ, ดลนภา ไชยสมบัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(1):122-34.

โรงพยาบาลเขาย้อย. เอกสารรายงานสรุปผลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลประจำปีงบประมาณ 2566. เพชรบุรี; 2566.

Schwartz M E. Nutritional Knowledge, Attitude and Practice of High School Graduate. Journal of American Dict. Association. 1975;66(1):28-31.

Krejcie R V, Morgan D W. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-10.

Bloom B S. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill; 1976.

Best J W. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1986.

บุญชัช เมฆแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา; 2562.

Cronbach, Lee J. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.

วัชราภรณ์ กุลวงศ์. การศึกษาภาคตัดขวางความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(1):51-60.

รุ่งทิพย์ แก้วอุ่น, ขนิษฐา ไทยคำนาม, พิภาภรณ์ สุทธิแสน, สโรชา วิสัย, บุญเลี้ยง สุพิมพ์. พฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพ: กรณีศึกษาประชาชนบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลยจังหวัดเลย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2562;8(2):43-54.

ศรินยา พลสิงห์ชาญ, คมวัฒน์ รุ่งเรือง. ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(1):211-23.

Gibson J. Organizations, Behavior, Structure, Processes (9 th ed.). New York: Mc Graw -Hill; 2000.

ภิษณี วิจันทึก. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;22(1):146-55.

ชนิตา ธีระนันทกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดในเด็กของผู้ปกครองในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

Guralnik, David B. Webster’s New World Dictionary of America Language. Second Edition. Cleveland, Ohio: Prentice-Hall Press; 1986.

ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, กวี ไชยศิริ. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-11 — Updated on 2024-01-11

Versions