This is an outdated version published on 2024-01-08. Read the most recent version.

การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลหนองแสง และเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • มนัส สุวรรณบุตร โรงพยาบาลหนองแสง

คำสำคัญ:

ระบบบริการช่องทางด่วน, โรคหลอดเลือดสมอง, เครือข่ายบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ เพื่อพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วน และประเมินผลลัพธ์ ของระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหนองแสง และเครือข่ายบริการ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 20 คน  ผู้ให้บริการ จำนวน 10 คน และผู้รับผิดชอบหลักในเครือข่ายบริการ จำนวน 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแล/ส่งต่อผู้ป่วย และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ % differences

ผลการวิจัย : จากศึกษาสถานการณ์พบปัญหาทั้ง Pre-hospital, In-hospital และ Post-hospital เช่น การเข้าถึง 1669 ความรู้ และทักษะการประเมินผู้ป่วยโรคเลือดสมองทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป การคัดกรองการคลาดเคลื่อน และความล่าช้าของระบบริการ ระบบบริการฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน (1) จัดระบบการดูแลผู้ป่วย (2) พัฒนาเครื่องมือในการคัดกรอง BE FAST 3) ร่วมกับเครือข่ายบริการในพัฒนาระบบบริการ (4) ประชุมชี้แจงพื้นที่และกู้ชีพตำบล (5) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (7) ประชาสัมพันธ์เชิงรุก(8) ให้ความรู้และทักษะ (9) จัดทำแนวทางการส่งต่อ และ (10) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้รวดเร็วขึ้น และผลลัพธ์ทุกตัวต่ำกว่าค่าเป้าหมาย

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผลลัพธ์ทุกตัวต่ำกว่าค่าเป้าหมาย ดังนั้น ควรส่งเสริมให้นำระบบนี้ไปใช้ในหน่วยงาน

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี พ.ศ.2560-2564). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020

โรงพยาบาลหนองแสง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ.2565. อุดรธานี. งานยุทธศาสตร์; 2565.

ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. สถานการณ์ ปัญหา และ อุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561;11(2):26-39.

Scottish Intercollegiate Guidelines Network (SIGN). Management of patients with stroke: rehabilitation, prevention and management of complications, and discharge planning a national clinical guideline. Edinburgh: Scottish Intercollegiate Guidelines Network; 2010.

Ross S Y, Roberts S, Taggart H, Patronas C. Stroke transitions of care. Medsurg Nurs. 2017;26(2):119-23.

Powers W J, Rabinstein A A, Ackerson T, et al. Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2018;49:e46-e99.

Joo H, Wang G, George M G. A literature review of cost effectiveness of intravenous recombinant tissue plasminogen activator for treating acute ischemic stroke. Stroke and Vascular Neurology. 2017;2(2):73-83.

Kemmis S, Mc T R. The action research planner. Geelong : Deakin University Press; 1990.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2549.

สงบ บุญทองโท, นิสากร วิบูลชัย, องุ่น บุตรบ้านเขวา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ. 2560;14(3):100-13.

สุวรรณี แสนสุข, จินตนา พลมีศักดิ์, นริศรา อารีรักษ์, ถนอม นามวงศ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565:8(4):195-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08

Versions