ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกของเครือข่ายสุขภาพตำบลทรายมูล จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถแห่งตน และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรก
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 64 คน เป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมอายุ 60 ปี ขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ Assumption โดยใช้สถิติ Shapiro-Wilk Test และ เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์มากกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.05 คะแนน; คะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.02 คะแนน; คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตนมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.04 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.32 คะแนน ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวของควรนำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2560.
อรวรรณ์ คูหา, นัดดา คำนิยม, อรวรรณ ประสิทธิศิริผล, พิมพ์นารา ดวงดี, ปนิตา มุ่งกลาง, นิติกุล ทองน่วม และคนอื่นๆ. รายงานผลการศึกษาระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กรุงเทพฯ: บริษัทไซเบอร์พริ้น จำกัด; 2561.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาปันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2561.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปั่นแก้ว, วรัญญา เพ็ชรคง. วิถีชุมชนคู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2545.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสว่างแดนดิน. สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ พ.ศ.2565. สกลนคร; 2565.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกันการประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
Wiersma W. Research methods in education (7th ed.) Boston: Allyn and Bacon; 2000.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. การประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์เรื่องการเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination: TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ซีจีทูล; 2551.
Waltz C, Strickland O, Lenz E. Measurement in nursing and health research (3rd ed.). New York: Springer Publishing Company; 2005.
ศรุตยา หาวงษ์, วีณา เที่ยงธรรม, สุธรรม นันทมงคลชัย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(1):110-28.
Becker M H. The health belief model and sick role behavior. Health Education Monographs. 1974;2:25-32.
Brooker D. Woolley R. Lee D. Enriching opportunities for people living with dementia in nursing homes: An evaluation of a multi-level activity-based model of care. Aging Mental Health. 2007;11(4):361-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-08 (2)
- 2024-01-08 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง