ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการจัดการภาวะโภชนาการของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้านในโรงพยาบาลหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ณัฐชา รอบดูดี โรงพยาบาลหนองฮี

คำสำคัญ:

การสนับสนุนและให้ความรู้, การจัดการภาวะโภชนาการ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลและศึกษาระดับกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) ของผู้ดูแลในการจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุติดเตียง 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดเตียงในในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหนองฮี จำนวน 80 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน ADL และแบบประเมินคะแนนความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของร้อยละ โดยใช้ Percentage differences

ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้านมีระดับความสามารถในการจัดการภาวะโภชนาการเพิ่มอยู่ในระดับดีมาก (84.2%) และผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้านมีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเพิ่มอยู่ในกลุ่มติดบ้าน จำนวน 15 คน (37.5%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้านมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้ในหน่วยงาน

References

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน, กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือย่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561;1:25-36.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1

โรงพยาบาลหนองฮี. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. งานยุทธศาสตร์; 2565.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทย สถานการณ์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://social.nesdc.go.th/social/Portals/O/Documents/1000_UNFPA_rev_Policy%20Brief%20Thai20041169.pdf

Hodson M. Integrating nutrition into pathways for patients with COPD. Br J Community Nurs. 2016;21(11):548-52.

Rojsangruang R. Nutritional management in COPD [internet]. 2014 [cited 2018 Jul 8]. Available from: https://www.slideserve.com/vonda/nutritional-management-in-copd

Wells J R, Anderson S T. Self-efficacy and social support in African Americans diagnosed with end stage renal disease. ABNF Journal. 2011;22:9-12.

Obara H, Tomite Y, Doi M. Improvement in the nutritional status of very elderly stroke patients who received long-term complete tube feeding. -SPEN, the European E E-Journal of Clinical Nutrition and Metabolism. 2010;5(6):e272-e6.

Mastronuzzi T, Paci C, Portincasa P, Montanaro N, Grattagliano I. Assessing the nutritional status of older individuals in family practice: Evaluation and implications for management. [Internet]. 2014 [Cited 2017 Nov 16]. Available from: http://doi.org/10.1016/j.clnu.2014.12.005

สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

Orem D E. Nursing: Concepts of practices (6th ed.). St. Louis: Mosby Year Book; 2001.

สวรินทร์ หงษ์สร้อย, วัลภา คุณทรงเกียรติ, เขมารดี มาสิงบุญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลความสามารถในการทำกิจกรรมและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2556;1:77-89.

ณัฐตินา วิชัยดิษฐ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการจัดการภาวะโภชนาการร่วมกับการให้ไข่ขาวเป็นอาหารเสริมต่อความสามารถในการจัดการภาวะโภชนาการของผู้ดูแลและระดับอัลบูมินในเลือดของผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ธัญพร สมันตรัฐ. การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงแบบ "3 ต". วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;19(36):35-48.

ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;4(2)36-50.

จริยา ซำเจริญ, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ปัจจัยทำนายความเครียดของญาติผู้ดูแลจากกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน. วารสารสภาการพยาบาล. 2564;36:150-66.

ดุสิต จันทยานนท์, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, กองชัย วิเศษดวงธรรม, กิตติศักดิ์ วีระพลชัย, จุฑามาศ สุวรรณกนกนาค, ธันย์ชนก สุภาจารุพันธุ์, และคนอื่นๆ. ทัศนคติและผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแล ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2554;1:58-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08 — Updated on 2024-01-08

Versions