การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ โดยใช้โปรแกรมบริหารจัดการลูกหนี้ของโรงพยาบาล ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ระบบการจัดเก็บรายได้, โปรแกรมบริหารจัดการลูกหนี้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ กระบวนการพัฒนา และประเมินผลกระบบระบบการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็น 1) ผู้รับผิดชอบงานศูนย์จัดเก็บรายได้ในโรงพยาบาลชุมชนในระยะศึกษาสถานการณ์ 32 คน และระยะพัฒนาระบบบริการ 32 คน 2) ผู้รับผิดชอบศูนย์จัดเก็บรายได้ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร 4 คน และ 3) ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานระบบบริการการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร ประกอบด้วย หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติ 21 คน ดำเนินการเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Precentage difference
ผลการวิจัย : (1) สภาพปัญหาของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์จัดเก็บรายได้ พบว่า สาเหตุของการคลาดเคลื่อน ของข้อมูลเกิดจากด้านคน ระบบอินเตอร์เน็ต กระบวนการ โปรแกรมฯ และเมื่อสำรวจและศึกษาสถานการณ์ของระบบโดยรวมพบว่า มีการบริหารจัดการลูกหนี้อยู่ระดับน้อย (2) การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ ประกอบด้วย (1) การจัดโครงสร้างระบบจัดเก็บรายได้ (2) ระบบงานจัดเก็บในการเรียกเก็บทุกกองทุน (3) จำนวนและทักษะความสามารถของบุคลากรเหมาะสม (4) การบันทึกข้อมูลกิจกรรมการรักษาครบถ้วน (5) การบันทึกรหัส การรักษาพยาบาล ครบถ้วน ถูกต้อง (6) ระบบเบิกจ่ายของแต่ละกองทุนค่ารักษาพยาบาล และ (7) การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ (3) หลังการพัฒนาพบว่า การบริหารจัดการลูกหนี้โดยรวมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 28.97 และคะแนนการบริหารประสิทธิภาพ โดยรวมเพิ่มขึ้น 5 แห่งลดลง 2 แห่ง (71.43%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้หน่วยงานมีการบริหารจัดการลูกหนี้และคะแนนการบริหารประสิทธิภาพ (Total Performance Score) เพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยที่เกี่ยวข้องควรนำระบบฯ นี้ไปใช้
References
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124, ตอนที่ 16ก. (ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2550).
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562–2563. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2563.
สุชาดา ภัยหลีกลี้. ระบบการเงินการคลังสุขภาพ (Health Care Financing). ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. การตรวจราชการและนิเทศงานปกติระดับกระทรวงรอบที่ 2/2565. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร; 2565.
พลพรรธน์ อยู่สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขาดทุนของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(2):357-68.
Kemmis, McT K S, Mc T R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988.
เสาวนีย์ สงวนวงศ์ภักดี. การบริหารลูกหนี้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนราธิวาส. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.
Cronbach L J. Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers; 1990.
ชาลี เอี่ยมมา. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงินการคลังในหน่วยบริการสุขภาพที่มีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(2):345-57.
สุชาดา สีแดง. การควบคุมบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2560;13(2):17-27.
ธิติมา ขาวสง่า, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการเงินการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13:512-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง