ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยการกำกับของญาติ

ผู้แต่ง

  • จิราพร คงทอง โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยการกำกับของญาติ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbAc) ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และความพึงพอใจของญาติ                                      

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design)

วัสดุและวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test และ Independent t – test โดยกำหนดนัยสำคัญที่ 95% CI

ผลการวิจัย : พบว่า ค่าคะแนนในด้านพฤติกรรมสุขภาพหลังผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนมากกว่า 0.54 คะแนน (95% CI : 0.34, 0.73) กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ไม่แตกต่างกัน (p=0.054) และญาติมีความพึงพอใจโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 87.50

สรุปและข้อเสนอแนะ : ดังนั้นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยการกำกับของญาติ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลและในชุมชนต่อไป และควรศึกษาเปรียบเทียบถึงระเวลาการเจ็บป่วยร่วมกับการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม

References

Internationnal Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas - 10th edition [Internet]. 2021[cited 2022 Feb 6]. Available from: http://www.diabetessatlas.org

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; 2560

โปรแกรม HDC. รายงานมาตรฐานกลาง 43 แฟ้ม (พ.ศ.2563-2565). [อินเทอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sasuk101.moph.go.th/

สุพัตรา สรรพกิจบำรุง. ผลของกระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินชูลิน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2551.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัท 25 มีเดีย จำกัด; 2563

กลุ่มงานพยาธิคลินิก. แนวทางการตรวจ HbA1c. วิธีปฏิบัติ เลขที่ LAB WI-609-01. กลุ่มงานพยาธิคลินิกโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2565.

อุบลรัตน์ รัตนอุไร, ประภาส สงบุตร. ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2561;3(1):12-7.

สุระเชษฐ เกตุสวัสดิ์. การสร้างพลังอำนาจโดยใช้กระบวนการกลุ่มและแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและชุมขนในการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.

รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภัคดีวงค์, อำภาพร นามวงค์พรม. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 2553;16(2)279-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-06