การศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พระสงฆ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขต จังหวัดนครพนม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์และผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดนครพนม คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ พระสงฆ์จำนวน 320 รูป 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ จำนวน 16 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-square และ Binary logistic regression ข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปเนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย Content Analysis
ผลการวิจัย : (1) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดนครพนม (p<.05) แต่ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมไม่มีความสัมพันธ์ และ (2) พระสงฆ์เข้าถึงบริการสุขภาพได้น้อย มีข้อจำกัดตามหลักพระธรรมวินัยในการออกกำลังกาย ปฏิเสธการตรวจประเมินสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สรุปและข้อเสนอแนะ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพของพระสงฆ์ สนับสนุนให้พระสงฆ์เข้าถึงการบริการทางสุขภาพได้มากขึ้น โดยการจัดทีมสุขภาพให้บริการเชิงรุกตรวจสุขภาพที่วัด รวมทั้งการอบรมให้ความรู้แก่แม่ครัว ญาติโยมในการจัดทำอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพถวายพระสงฆ์
References
Alaofè H, Hounkpatin W A, Djrolo F, Ehiri J, Rosales C. Knowledge, attitude, practice and associated factors among patients with type 2 diabetes in Cotonou, Southern Benin. BMC Public Health 2021;21:339. doi: 10.1186/s12889-021-10289-8. PMID: 33579243.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
พระครูรัตนกิจจาภิวัฒน์, สิทธิพรร์ สุนทร, เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตพระสงฆ์ ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]; 7:16-30. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254771
สนธนา สีฟ้า. การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566]; 10:117-25. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/249204
กิ่งเพชร แก้วสิงห์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ. บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด; 2558.
พีระพล หมีเอี่ยม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
จรรยา นราธรสวัสดิกุล, ประพันธ์ เข็มแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566]; 1:10-23. เข้าถึงได้จาก : http://www.ppho.go.th/webppho/research/research.php?yp=y1p1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-05 (6)
- 2024-01-03 (5)
- 2024-01-03 (4)
- 2024-01-03 (3)
- 2024-01-03 (2)
- 2024-01-03 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง