การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงบริการที่ไร้รอยต่อในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุขและการดูแลต่อเนื่องระดับอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พุทธรักษ์ อินทร์ห้างหว้า โรงพยาบาลโพนทราย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งต่อ, การดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน, การดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบ และเปรียบเทียบคะแนนความรู้และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ด้านการส่งต่อผู้ป่วยก่อนและหลังการจัดอบรมการใช้เครื่องมือคัดกรองประเมินในการดูแลคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินแบบบูรณาการ

รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ระยะที่ 1 ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานรับ - ส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในพื้นที่อำเภอโพนทราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 15 ราย ระยะที่ 2 และ 3 ระยะดำเนินการและระยะประเมินผลกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในพื้นที่อำเภอโพนทราย จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมินความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed Ranks Tests

ผลการวิจัย : ระบบการเชื่อมโยงบริการที่ไร้รอยต่อในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและการดูแลต่อเนื่องระดับอำเภอ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การพัฒนาโปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับอำเภอ และ 2) การจัดอบรมการใช้เครื่องมือคัดกรองประเมินในการดูแลคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินแบบบูรณาการ และผลลัพธ์จากการนำโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (90%) และเห็นว่าโปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับอำเภอมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (100%) และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในการประเมินระดับวิกฤตของผู้ป่วยฉุกเฉินสูงกว่าก่อนได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการส่งต่อที่พัฒนามีการเชื่อมโยงและสามารถดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินให้ได้รับบริการอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผล และเวชระเบียนมีความสมบูรณ์อย่างถูกต้องครบถ้วน

References

ทัศนีย์ บุญเป็ง. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงบริการที่ไร้รอยต่อในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและการดูแลต่อเนื่องระดับอำเภอ. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติคณะรัฐมนตรี; 2561.

โรงพยาบาลโพนทราย.รายงานประจำปี 2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลโพนทราย; 2566.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED.Triage. นนทบุรี: สำนักวิชาการการแพทย์ กรมการแพทย์; 2561.

Rahman N H, Tanaka H, Shin S D, Ng Y Y, Piyasuwankul T, Lin C H, et al. Emergency medical services key performance measurement in Asian cities. International Journal of Emergency Medicine 2014.

จณิสตา ป้องคำลา, อารี บุตรสอน. ผลของโปรแกรมการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมต่อประสิทธิผลการส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(3):811-26.

นงลักษณ์ ขัดแก้ว. ผลของแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยผู้ป่วยโรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2561; 26(1):8-22.

กรรณิกา ธนไพโรจน์, สุคนธ์ ไข่แก้ว, สมพันธ์ หิญชีระนันท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2561;14:9-24.

ชัญญาภัค วิจารณ์. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยจากอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเกิดเหตุ โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(4):219-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19 — Updated on 2023-12-21

Versions