This is an outdated version published on 2023-12-19. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักโดยใช้ตาราง 9 ช่องต่อความรู้ พฤติกรรมการออกกำลังกาย และน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านแคน ตำบลจังหารอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จีระพรรณ ศรีหามี

คำสำคัญ:

โปรแกรมลดน้ำหนัก, ตาราง 9 ช่อง, ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และดัชนีมวลกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านแคน จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)

วิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 18 คน เป็นนักเรียนที่มีคัดเลือกนักเรียนโดยใช้เกณฑ์ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานตั้งแต่ท้วมขึ้นไป เป็นกลุ่มทดลอง 18 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย การจัดอบรม บรรยายประกอบสื่อ คู่มือ ความรู้โรคอ้วน การออกกำลังกายโดยใช้ตาราง 9 ช่อง และการบริโภคอาหาร รวมทั้งได้รับการกระตุ้นจากผู้ปกครอง การสนับสนุนข้อมูลจากนักวิจัย ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

ผลการวิจัย : หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคอ้วน การออกกำลังกายโดยใช้ตาราง 9 ช่อง และการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น (p<.001, .002, .001) แต่ดัชนีมวลกายลดลง (p=.004)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และดัชนีมวลกายลดลง ดังนั้น ควรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่

References

กัลยาณี โนอินทร์, ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารการพยาบาลทหารบก. 2560;18:2-8.

World Health Organization. The world health report 2002 reducing risks promoting healthy life. Switzerland; 2002.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20201001173726_817/20201002103021_2150.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผู้ตรวจราชการ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/webupload/6x22caac0452648 c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/doc/1.11AssessmentRound2-2565.pdf

รายงานมาตรฐานกลาง 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2566.

วัชรินทร์ เลิศนอก. ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนกลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้ [วิทยานิพนธ์]. สุพรรรณบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ; 2560.

อรทัย กัลยาวุฒิ, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตังเตที่มีผลต่อองค์ประกอบของร่างกาย และคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2565;10:192-207.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19

Versions