การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลโรควัณโรคปอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
วัสดุและวิธีการวิจัย : เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด จำนวน 2 ราย เลือกเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลโพนทราย ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 – กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 73 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ เจ็บคอ ไอมีเสมหะสีขาว มีน้ำมูก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ กินได้น้อยเบื่ออาหาร น้ำหนักลด 3 กิโลกรัม เหนื่อยอ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกข้างขวาเวลาไอ มีไข้ตอนเย็นทุกวันเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2561 เคยรักษาวัณโรคครบ 6 เดือน แพทย์ส่งตรวจ Chest X-ray พบ Multifocal nodular infiltration Rt lung with pacthy infiltration and fibrosis Rt lower lung, AFB 3 วัน ผล AFB negative แพทย์พิจารณาส่ง Xpert MTB ผล detected จึงได้วินิจฉัยโรคเป็น Pulmonary Tuberculosis ได้ยาวัณโรคสูตรพื้นฐานคือ 2 HRZE/4HR คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้าน, กำกับการรับประทานยา (DOT) เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยา ผลการรักษาให้ยาครบ 6 เดือน ตรวจเสมหะ Sputum AFB 2 ตลับผลตรวจ Negative แพทย์พิจารณาว่าการรักษาวัณโรคได้รับความสำเร็จ กรณีศึกษารายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 57 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามขาส่งมาคัดกรอง Chest X-ray ประจำปีในกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเบาหวานและมีอาการไอแห้งๆ เป็นๆ หายๆ มีไข้ตอนบ่าย หนาวสั่น หายใจเหนื่อย เบื่ออาหาร กินได้น้อย เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน ให้ประวัติว่า 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ หนาวสั่นหายใจหอบเหนื่อย ไอแห้งๆน้ำหนักลด 10 กิโลกรัม ผล Chest X-ray พบ diffuse reticulonodular infiltration middle and upper both lung, ส่งตรวจ AFB 3 วัน ผล AFB negative แพทย์พิจารณาส่ง Xpert MTB ผล detected จึงได้วินิจฉัยโรคเป็น Pulmonary Tuberculosis ได้ยาวัณโรคสูตรพื้นฐานคือ 2 HRZE/4HR คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้าน กำกับการรับประทานยา (DOT) เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยา ผลการรักษา ให้ยาครบ 6 เดือน ตรวจเสมหะ Sputum AFB 2 ตลับผลตรวจ Negative แพทย์พิจารณาว่าการรักษาวัณโรคได้รับความสำเร็จ
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การคัดกรองและรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างรวดเร็วจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดความรุนแรง และลดอัตราการดื้อยาของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะความชำนาญ รวมทั้งมีแนวทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพอักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
รุ่งทิวา บุรเทพ. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน : กรณีศึกษา 2 ราย [อินเตอร์เน็ต]. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลระยอง; เข้าถึงได้จาก : https://www.rayonghospital.go.th/images/webpage/02642113d3518a.pdf
โรงพยาบาลโพนทราย. รายงานประจำปี 2566; 2566.
วิศณุ นันทัยเกื้อกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(2):53-62.
สุขสมประสงค์ ดีไชยรัมย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
สุธิดา อิสระ, อรสา กงตาล. การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชนเขตเมือง กรณีศึกษาในชุมชนของเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(2):148-62.
สุวิจักขณ์ เจนปิยพงษ์, ชมพูนุช เพชรวิเศษ, ณัฐฐิตา เพชรประไพ, ศรัญญา จุฬารี. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในระยะกำเริบและระยะพักฟื้น : กรณีศึกษา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2566;41(2):1-4.
อัญชลี จันทร์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลการตรวจเสมหะของผู้ป่วยวัณโรค. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(3):89-104.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-12-20 (4)
- 2023-12-19 (3)
- 2023-12-19 (2)
- 2023-12-19 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง