ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านบริการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เป็นโรคเบาหวาน
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, บริการพยาบาลทางไกล, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านบริการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เป็นโรคเบาหวาน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two-group Pretest and Posttest design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 38 ราย เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำแนกเป็นกลุมทดลองและกลุมควบคุม กลุมละ 19 ราย ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม 2.0 คะแนน (95%CI: 1.2, 2.7)
สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านบริการพยาบาลทางไกลส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับความมั่นใจในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่ “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างสมบูรณ์แบบ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476
อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):129-34.
Delavar F, Pashaeypoor S, Negarandeh R. The effects of self-management education tailored to health literacy on medication adherence and blood pressure control among elderly people with primary hypertension: A randomized controlled trial. Patient education and counseling. 2020;103(2):336-42.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการของเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองร้อยเอ็ด [อินเตอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองร้อยเอ็ด; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://docs.google.com/ spreadsheets/ d/1F4bLgmaIyNos0WM2cJwYwI0rW1PmrwsdSuyt-XP2LYQ/edit#gid=1133813807
ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ, อัศนี วันชัย, ชนกานต์ แสงคำกุล, อภิเชษฐ์ พูลทรัพย์. พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2564;13:225-37.
กรรณิการ์ แสนสุภา, นเรศ กันธะวงค์. การจัดการตนเอง: ทักษะในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร. 2564;1:25-37.
พรภัทรา แสนเหลา, อณัญญา ลาลุน. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2562;2(2):21-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-12-19 (5)
- 2023-12-19 (4)
- 2023-12-19 (3)
- 2023-12-19 (2)
- 2023-12-19 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง