การจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิตยา รัชโพธิ์ โรงพยาบาลวาปีปทุม

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยา Streptokinase ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง (Purposive  sampling) เป็นผู้ใช้บริการ (ผู้ป่วย STEMI) จำนวน 21 คน และบุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย STEMI แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการวิจัยที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง กันยายน พ.ศ. 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบการบริการ และ3) ประเมินผล

ผลการวิจัย : ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาการบริการทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ระยะพัฒนาระบบบริการ มีกระบวนการพัฒนา 3 วงจร เกี่ยวกับ 1) การเข้าถึงบริการช่องทางด่วนที่รวดเร็ว 2) การคัดกรองผู้ป่วย 3) การพัฒนาแนวทางการดูแล 4) การวินิจฉัยภาวะ STEMI และระบบการให้คำปรึกษาเพื่อยืนยันการวินิจฉัย 5) การกำหนดมาตรฐานการให้ยาละลายลิ่มเลือด และการดูแลผู้ป่วย และ 6) การส่งต่อ ระยะประเมินผล พบว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพมีการปฏิบัติตามแนวทางการบริการพยาบาลผู้ป่วย (100%) ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยภายหลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะเจ็บเค้นอก (100%) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาลจนได้รับการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าเฉลี่ย 9.62 นาที การแปลคลื่นหัวใจไฟฟ้าเฉลี่ย 10.22 นาที ค่าเฉลี่ยการได้รับยา Streptokinase หลังวินิจฉัยเฉลี่ย 23.63 นาที และค่าเฉลี่ยระยะเวลาตั้งแต่เจ็บหน้าอกถึงได้รับยาละลายลิ่มเลือด เฉลี่ย 153.89 นาที ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด (100%) ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ (45%) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนปฏิกิริยาการแพ้ยา ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อ (100%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและตามมาตรฐาน ควรขยายขอบเขตการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย STEMI ให้ครอบคลุมการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และการรับกลับ/การดูแลต่อเนื่อง

References

เกรียงไกร เฮงรัศมี. สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายชนิดที่มี ST-Elevation ในประเทศไทย มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์จำกัด; 2555.

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva : WHO Document Production Services; 2010. [cite 2023 Oct 10]. Available from: https://extranet.who.int/nhptool/BuildingBlock.aspx

ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล. อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency medicine). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559.

คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาขีด ความสามารถของระบบบริการโรคหัวใจ เขตบริการสุขภาพที่ 7 ร้อยแก่นสารสินธุ์. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. ครั้งที่พิมพ์ 2. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง; 2556.

Kemmis S, McTaggart R (eds.). The action research planner [Internet]. Deakin University; 1988 [cited 2023 Oct 10]. Available from: https://doi.org/10.1007/978-981-4560-67-2.

สุรพันธิ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2554;29(1):22-9.

วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา. ผลการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST elevation ด้วยยา Streptokinase ในโรงพยาบาลชุมชน. พุทธชินราชเวชสาร. 2555;29(3):349-56.

อรวดี กาลสงค์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดา. ราชาวดีสาร. 2563;10(2):38-53.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล นิสากร วิบูลชัย, วิไลพร พิณนาดิเลย์, จุลินทร ศรีโพนทัน, เบญจพร เองวานิช. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560:80-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13 — Updated on 2023-12-13

Versions