การพัฒนาระบบการคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มเสี่ยงในชุมชนแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • สวาสดิ์ ธรรมมา โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การคัดกรอง, โรคพยาธิใบไม้ตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, กลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา พัฒนาระบบการคัดกรอง และประเมินผลระบบการคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มเสี่ยงในชุมชนแบบมีส่วนร่วม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) 

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิที่ได้รับการคัดกรองด้วยวาจา 5 คำถาม และพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป และยินดีและสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยฯ เข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์ จำนวน 876 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (70.1%) อายุเฉลี่ย 53 ปี (SD.=10.1) อายุตั้งแต่ 50-59 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม และประวัติพ่อหรือแม่ป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี เคยการรับประทานปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบๆ สุกๆ หรือปลาร้าไม่ต้มสุก ซึ่งระบบการคัดกรองประกอบด้วย 6 ขั้น คือ สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ การจัดทำฐานข้อมูล การคัดกรอง การบันทึกข้อมูล การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และคืนข้อมูลและการรักษาและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และพบว่าผู้ป่วยสงสัยมะเร็งท่อน้ำดี (Suspected cases) คิดเป็น 1,712 ต่อแสนประชากร Dilated bile duct (0.23%) Parenchymal Echo ผลการตรวจพบว่า Normal ปกติ 10 ราย (1.14%), Abnormal 5 ราย (0.57%), PDF (พังพืดบริเวณท่อน้ำดี) 1 ราย (0.11%), Parenchymal change (เนื้อตับผิดปกติ) 2 ราย (0.23%) และ Refer case 228 ราย (26.02%) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ค้นพบ Suspected case,  Dilated bile duct และ Parenchymal change ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวควรนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

 

References

วีระพล วิเศษสังข์, ณรงค์ วราพุฒ, รัตนากรณ์ วราพุฒ. 4ป.1ข บ่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ. จุลสารศูนย์ประสานงานโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. 2565;7(18):9-11.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการ CASCAP [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยท่อน้ำดี; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cascap.kku.ac.th/

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออสม.หมอประจำบ้านด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

นันทิยา เข็มเพชร. การตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(2):13-23.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2566 รอบ 2 เขตสุขภาพที่ 7 ประเด็นที่ Area based : โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2566 [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_report_executive/2023-08-20-10-02-58.pdf

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. รายงานผลการดำเนินงานคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2566.

วรดา พึ่งศรีเพ็ง. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มเสี่ยงตำบลป่าคำหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.

เบญจพร ถานทองดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี [อินเตอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01