พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พิสมัย ศรีทำนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, ผู้สูงอายุสมองเสื่อม, การดูแลระยะยาว, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องในการรับรู้และมีภาวะสมองเสื่อม 11 คน ผู้ดูแลในครอบครัว 11 คน ประชาชน 42 คนผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 20 คน บุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน 5 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Percentage difference

ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 พบว่า การดูแลตาม Care plan ปกติยังไม่เพียงพอ จึงนำรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอให้ผู้ดูแลหลักในครอบครัวร่วมด้วย ผลการวิจัยระยะที่ 2 ได้นำรูปแบบระยะที่ 1 สู่การปฏิบัติจำนวน 12 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่าหลังได้รับบริการตามรูปแบบใหม่ ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันดีขึ้น สภาพสมองโดยเฉพาะความจำดีกว่าก่อนการพัฒนา ผู้ดูแลในครอบครัวมีภาระการดูแลลดลงจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลระยะที่ 3 พบว่า มี 3 กระบวนการสำคัญ คือ การเขียน Care plan ตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลในครอบครัวมีทักษะ และชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ลดภาระในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้

สรุปและข้อเสนอแนะ : การใช้รูปแบบการดูแลเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันดีขึ้น ลดภาระในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว

References

วิชัย เอกพลากร. รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, แสงเดือน กิ่งข่อยกลาง, นฤบดินทร์ รอดปั้น, ขวัญระวี ทิพย์พิลา, นิทิกร สอนชา, ถวัลย์รัตน์ รัตนสิริ, และคนอื่นๆ. คู่มือ การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอสำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว. ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ศิราณี ศรีหาภาค, ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. สมองเสื่อมกับการดูแลระดับปฐมภูมิ คู่มือพัฒนาศักยภาพผู้จัดการดูแลและบุคลากรสุขภาพการดูแล ผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ. นนทบุรี: มูลนิธิสังคมและสุขภาพ; 2565.

Jorm AF, Jacomb PA. The Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (IQCODE): Socio-demographic correlates, reliability, validity and some norms. Psychological Medicine. 1989;19(4):1015-22.

Senanarong V, Assavisaraporn S, Sivasiriyanonds N, Printarakul T, Jamjumrus P, Udompunthuruk S, et al. The IQCODE: an alternative screening test for dementia for low educated Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2001;84(5):648-55.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

Cummings JL, Mega M, Gray K, Rosenberg-Thompson S, Carusi DA, Gornbein J. The Neuropsychiatric Inventory: comprehensive assessment of psychopathology in dementia. Neurology. 1994;44(12):2308-14.

โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ และคนอื่นๆ. แบบประเมินแบบประเมินอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วยสมองเสื่อม [อินเทอร์เน็ต]. ศูนย์การุณรักษ์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.karunruk.org/wp-content/uploads/2021/07/5.-NPI-Q

กลุ่มฟื้นฟูสภาพสมอง. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย. สารศิริราช. 2536.45(6):359-74.

Wade DT, Collin C. The Barthel ADL Index: a standard measure of physical disability. Int Disabil Stud. 1988;10(2):64-7.

Jitapunkul S, Kamolratanakul P, Ebrahim S. The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: development of a new index. Age Ageing. 1994;23(2):97-101.

Chen H, Levkoff S, Chuengsatiansup K, Sihapark S, Hinton L, Gallagher-Thompson D, et al. Implementation Science in Thailand: Design and Methods of a Geriatric Mental Health Cluster-Randomized Trial. Psychiatr Serv. 2022;73(1):83-91.

Bedard M, Molloy DW, Squire L, Dubois S, Lever JA, O Donnell MJ. The Zarit Burden Interview: A New Short Version and Screening Version. The Gerontologist. 2001;41(5):652-7.

Pinyopornpanish K, Soontornpun A, Wongpakaran T, Wongpakaran N, Tanprawate S, Pinyopornpanish K, et al. Impact of behavioral and psychological symptoms of Alzheimer’s disease on caregiver outcomes. Sci Rep. 2022;12:14138.

เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์, จตุพร จันทะพฤกษ์, ภาวิณี แพงสุข, ปิยนุช ภิญโย, ภควรรณ ตลอดพงษ์, นิสากร เห็มชนาน. การศึกษาสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2561;8(2):46-57.

ชุติมา ทองวชิระ. ความชุก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุและการพัฒนาคู่มือการให้ความรู้ : กรณีศึกษาชุมชนเขตบางพลัด. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต:กรุงเทพฯ. 2559. doi: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SDU.res.2016.13.

นรินทิพย์ ฤทธิ์ฐิติ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564;1(3):1-20.

สาธิดา แรกคำนวณ, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแล ของผู้ดูแล ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57(3):335-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01