ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน เส้นรอบเอว และระดับน้ำตาลในเลือดแบบเจาะปลายนิ้ว (DTX) หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบ Two group pretest posttest design
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 64 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม 0.82 คะแนน (95%CI: 0.66, 0.98); กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวโดยรวมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวโดยรวมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 11.79 เซนติเมตร (95%CI: 5.55, 18.01) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) โดยรวมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) โดยรวมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 33.75 mg/dL (95%CI: 18.80, 48.69)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Intervention นี้ส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำ Intervention นี้ไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ต่อไป
References
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. กลุ่มงานยุทธศาสตร์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2564.
อริสรา สุขวัจนี, อัญชลีพร อมาตยกุล. การจัดการสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านม่วงหวาน: มุมมองจากการศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2562;31(3):19-32.
อัญชลี ตรีลพ. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี [อินเตอร์เน็ต]. สิงห์บุรี: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://sbo.moph.go.th/sbo/file/ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของของประชาชนกลุ่มเสี่ยงDM%20HT.pdf
ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(4):618-24.
วริษา กันบัวลา, ณชนก เอียดสุย, อาภรณ์ ดีนาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;29(3):1-14.
อังศินันท์ อินทรกำแหง, ธัญชนก ขุมทอง. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(3):1-18.
อารีย์ แสงศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารพยาบาล. 2564;70(4):1-10.
วิไล พรหมบุตร, สมบูรณ์ พันธ์บุตร, กิ่งทอง หาวงศ์, พิทักษ์ สิงห์บัวบาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ [อินเตอร์เน็ต]. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/3p13.pdf
นงลักษณ์ เทศนา, จมาภรณ์ ใจภักดี, บุญทนากร พรหมภักดี, กนกพร พินิจลึก. รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/diabetes/research/d%202-3-19.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง