การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นหลังคลอดของโรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทิพานันท์ แดนสีแก้ว โรงพยาบาลเชียงยืน
  • นุสรา ธนเหมะธุลิน โรงพยาบาลเชียงยืน
  • อุไรวรรณ สอนเสนา โรงพยาบาลเชียงยืน
  • ยุวลักษณ์ คำนวณ โรงพยาบาลเชียงยืน

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การตั้งครรภ์ซ้ำ, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นของโรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามที่เหมาะสม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเชียงยืน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการ 16 คน และ (2) กลุ่มที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)   

ผลการวิจัย : การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นหลังคลอดของโรงพยาบาลเชียงยืน ประกอบด้วย ขั้นตอนการให้คุณค่าแก่ตัวเอง (Value) การให้ความรู้ (Knowledge) ครอบครัว (Family) ความตระหนัก (Awareness) และทักษะการเอาตัวรอด (Survival skills) หลังการพัฒนาพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ทัศนคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและความพึงพอใจที่มารับบริการสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

สรุปและข้อเสนอแนะ : การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบที่ได้ประสิทธิภาพและควรนำไปทดลองใช้ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

ศิริพร ศรีอินทร์. ปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(1):68-81.

งามพิศ จันทร์ทิพย์, การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เขตชุมชนใกล้เมือง. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2560;13(2):64-71.

กรมอนามัย. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/download/?did=214353&id=109136&reload=

ศิริพร ศรีอินทร์. ปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(1):68-81.

โรงพยาบาลเชียงยืน. รายงานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. มหาสารคาม: โรงพยาบาลเชียงยืน; 2566.

Kemmis S, Mc Tagart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1998.

พัทยา แก้วสาร, นภาเพ็ญ จันทขัมมา. การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนประถมปลาย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2564;41(2):101-10.

ธันวดี ดอนวิเศษ, พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 2562;13(2):38-49.

อาทิตยา มาละ, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, กรกฏ ศิริมัย. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฝึกทักษะการตัดสินใจ ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2565;40(3):14-30.

อุไรวรรณ ฐิติวัฒนากูล, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทุนชีวิต โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(6):984-96.

สิริลัดดา บุญเนาว์. ความรู้ทัศนคติและความพึงพอใจต่อการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น. ชัยภูมิเวชสาร 2559;36(2):35-43.

พรรษมน สุริยสาร. การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลงิ้วราย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2562;(5)2:132-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-20