อุบัติการณ์การติดเชื้อและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
คำสำคัญ:
การล้างไตทางช่องท้อง, การติดเชื้อช่องท้องอักเสบ, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากผลไปหาเหตุ (Case-Control Study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 125 ราย เก็บข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนมีนาคม 2566 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกข้อมูลการรักษา มีค่า IOC เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง 125 คน มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 20 ราย คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 0.20 ครั้ง/ราย/ปี และผู้ป่วยที่มีค่าอัลบูมิน <3.5g/dL มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้มีค่าอัลบูมิน ³3.5g/dL เป็น 3.74 เท่า
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรนำผลวิจัยที่ได้ไปพัฒนา สร้างแบบแผนในการป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องของผู้ป่วยที่บำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องต่อไป
References
กรมการแพทย์. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก:http.//www.dms.go.th
วาสนา สวนพุฒ. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(2):286-9.
กองทุนโรคไตวาย สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผลการดำเนินงานโครงการล้างไตผ่านทางช่องท้องในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า CAPD. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http.//kdf.nhso.go.th/from_login1.php
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;18(ฉบับพิเศษ):17-24.
วราทิพย์ แก่นการ. การพยาบาลแบบองค์รวมผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง: บทบาทท้าทายภายใต้ นโยบาย PD first politcy = Holistic nursing in CAPD patients: Challenge role under PD first policy. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;33(4):6-14.
Pirano B, Bernadini J, Figueiredo E. Peritoneal Dialysis-Related Infections Recommendation: 2016 Update. 2016;36(5):481-508.
วรลักษณ์ ฉัตรรัตนารักษ์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลสมุทรปราการ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559;34(2):58-66.
ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องในระยะเวลาอย่างน้อย 18 เดือนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่อง. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 2561;29(1):17-28.
ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์. การติดเชื้อของการล้างไตในช่องท้องของโรงพยาบาลสุรินทร์.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(4):60-7.
ธวัช เตียวิไล, รสสุคนธ์ ตันติวิชิตเวช. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรกของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพธาราม . วารสารแพทย์ เขต 4-5 2563;39:51-64.
นราภรณ์ ท่อนโพธิ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(8):167-76.
สำราณ พลเตชา, นันท์ นกทอง, วัลลภา ช่างเจราจา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตในช่องท้องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2561;1(3):3-10.
อาทิตยา อติวิชญานนท์. ปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2558;21(2):172-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง