ผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวดหลังผ่าตัด และอาการท้องอืดโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วย, อาการปวดหลังผ่าตัด, อาการท้องอืด, การผ่าตัดทางหน้าท้องบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวดหลังผ่าตัดและอาการท้องอืด โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบบ 2 กลุ่มมีการทดสอบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pre-post test research design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิจำนวน 52 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 26 รายและกลุ่มทดลองจำนวน 26 ราย เก็บรวบรวมโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของความปวดและแบบประเมินอาการท้องอืด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-Square test, Repeated measures ANOVA, ANCOVA, Paired t-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95%CI
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ ในวันที่ 1-3 หลังผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ยความปวดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และมีคะแนนเฉลี่ยอาการท้องอืดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรนำโปรแกรมการจัดการอาการมาประยุกต์ใช้ควบคู่กับการดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังผ่าตัดและอาการท้องอืดในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดให้มากยิ่งขึ้น
Downloads
References
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ปีพ.ศ.2563-2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2566.
วิริยา ศิลา, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, วีนัส ลีฬหกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวดหลังผ่าตัดและอาการท้องอืดที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2561;24(2):204-15.
Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher ES, Humphreys J, et al. Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing. 2001;33(5):668-76.
DeLoach LJ, Higgins MS, Caplan AB, Stiff JL. The visual analog scale in the immediate postoperative period: intrasubject variability and correlation with a numeric scale. Anesth Analg. 1998;86(1):102-6.
อัจฉราพร โชติพนัง, อวยพร ภัทรภักดีกุล. ผลของการฟังดนตรีตามชอบต่อความปวดและสัญญาณชีพในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;26(2):43-53.
เพ็ญประภา อิ่มเอิบ, วรีวรรณ คงชุ่ม, กรณิศ หริ่มสืบและคณะ. ผลของดนตรีบรรเลงต่อระดับความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;23(3):53-62.
เชิดศักดิ์ ดวงจันทร์. ผลของการเคี้ยวหมากฝรั่งต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหลังผ่าตัดช่องท้องแบบเปิด [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
สิริอร ข้อยุ่น, วริศรา ภู่ทวี, อาภา ศรีสร้อย. ผลของการใช้โปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดร่วมกับเครื่องพยุงเดินหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(4):386-92.
Montgomery E. The Science of Music Therapy [Internet]. 2016 [cite 2023 Aug 18]. Available from https:// Petersonfamilyfoundation.org/music-therapy/science-music-therapy/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-11-09 (2)
- 2023-11-09 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง