การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในโรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการจำเป็น สร้างและพัฒนารูปแบบการดูแลและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในโรงพยาบาลศรีสมเด็จ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินปัญหาและความต้องการ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้แบบประเมินการปฏิบัติงานแบบประเมินADLและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมชุมชน เตรียมคนและเตรียมเครือข่ายการทำงาน ศึกษาและการประเมินสถานการณ์ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุและคืนข้อมูล พัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชน และประเมินผลการดำเนินงานและเผยแพร่ข้อมูล หรือ PATIA Model ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ดูแลผู้สูงอายุมีการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ก่อนการพัฒนาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มที่ 2 จำนวน 10 คน หลังการพัฒนาระยะเวลา 8 เดือน พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 1 เพิ่มขึ้น จำนวน 5 คน (50.0%) และมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มที่ 2 ลดลงเหลือ จำนวน 5 คน (50.0%) และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2566.
โรงพยาบาลศรีสมเด็จ. กลุ่มงานยุทธศาสตร์. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2565.
พันธวี คำสาว,วลัยภรณ์ กุลวงค์, บุญยัง ขันทะหัด.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566;26(2):14-27.
Swagerty DLJ, Takahashi PY, Evans JM. Elder mistreatment. Am Fam Physician. 1999;59(10):2804-8.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.); 2551.
Caffrey RA. Caregiving to the elderly in Northeast Thailand. 1992;7(2):117-34. doi: 10.1007/BF00115940.PubMed PMID:24390694.
Kuzuya M, Masuda Y, Hirakawa Y, Iwata M, Enoki H, Hasegawa J, et al. Day care service use is associated with lower mortality in community- Dwelling frail older people. Journal of the American Geriatrics Society. 2006;54 (9):1364-71.doi: 10.1111/j.1532-5415.2006.00860.x. PubMed PMID: 16970643.
Cicirelli VG. Helping elderly parents: the role of adult children. Boston: Auburn House Publishing; 1981.
เวธกา กลิ่นวิชิต, ยุวดี รอดจากภัย, คนึงนิจ อุสิมาศ. การจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุภาคตะวันออก:กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรีและจังหวัดสระแก้ว. บูรพาเวชสาร. 2560;4(2).
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้กับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. ใน: สุพัตรา ศรีวณิชชยากร, สุมาลี ประทุมนันท์,บรรณาธิการ. มองมุมใหม่จัดการใหม่ในระบบสุขภาพชุมชน: เอกสารประกอบการประชุมมหกรรมสูขภาพชุมชนครั้งที่ 2 จากความรู้สู่ระบบจัดการใหม่ จินตนาการเป็นจริงได้ไม่รู้จบ. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2554.
ประเวศ วะสี. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน: สุขภาพชุมชนรากฐานของสุขภาวะทั้งมวล. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2549.
รมย์ธนิกา ฝ่ายหมื่นไวย์, นิภา กิมสูงเนิน, เขมศ์ณริณี รื่นฤดีภิรมณ์. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ:คำตอบอยู่ที่ระบบสุขภาพชุมชน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564;44(3):11-22.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, มธุรพร ภาคพรต, พฤกษา บุกบุญ. สู่ชมชน สุขภาพดีคู่มือการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2558.
ขนิษฐา นันทบุตร. ระบบสุขภาพชุมชน กระบวนการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบใหญ่ในชุมชน. นนทบุรี: เดอะกราฟีโกซิสเต็มส์; 2553.
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยทฤม. กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน:14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2557;28(1):1-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-11-08 (3)
- 2023-11-08 (2)
- 2023-11-07 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง