This is an outdated version published on 2023-11-07. Read the most recent version.

ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • เนาวรัตน์ ขันธิราช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ, บาดเจ็บช่องอก, ท่อระบายทรวงอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก จำนวน 40 ราย ที่ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังและติดตามไปข้างหน้า แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก จำนวนกลุ่มละ 20 ราย ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บ และแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test

ผลการวิจัย : กลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติมีการเลื่อนหลุดของ Intercostal drainage (ICD) (20.00%) กลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติมีการเลื่อนหลุดของ Intercostal drainage (ICD) (5.00%) กลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติมีการเลื่อนหลุดของ Intercostal drainage (ICD) มากกว่ากลุ่มหลังพัฒนาระบบอย่าง    มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.038) และพบว่ากลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่ากลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.017)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลทั้งผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและด้านโรงพยาบาลและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอก

References

กัญจนา ฤทธิ์แก้ว, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, กฤษณ์ แก้วโรจน์. การเปลี่ยนแปลงทางกลศาสตร์ของปอดในผู้บาดเจ็บทรวงอกในระยะวิกฤต : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล. 2553:25(3):78-88.

Chien CY, Chen YH, Han ST, Blaney GN, Huang TS, Chen KF. The number of displaced rib fractures is more predictive for complications in chest trauma patients Scand. J Trauma Resuscitation Emerg Med 2017; 25(1):19. doi: 10.1186/s13049-017-0368-y. PubMed PMID: 28241883.

Kang YS, Kwon HJ, Stammen J, Moorhouse K, Agnew AM. Biomechanical response targets of adult human ribs in frontal impacts. Ann Biomed Eng 2021; 49(2):900–11. doi: 10.1007/s10439-020-02613-x. PubMed PMID: 32989590.

Bekir ND, Ibrahim K, Ekrem SA, Selim CP. Blunt trauma related chest wall and pulmonary injuries: an overview. Chin J Traumatol 2020;23(3):125-138. doi: 10.1016/j.cjtee.2020.04.003. PubMed PMID: 32417043.

ปุณรดา เจริญดี. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2560;10(1):96-109.

Frink M, Lechler P, Debus F, et al. Multiple trauma and emergency room management. Dtsch Arztebl Int. 2017;114(29-30): 497-503. doi: 10.3238/arztebl.2017.0497. PubMed PMID: 28818179.

Coary R, Skerritt C, Carey A, Rudd S, Shipway D. New horizons in rib fracture management in the older adult. Age Ageing. 2020;49(2):161–7. doi: 10.1093/ageing/afz157. PubMed PMID: 31858117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-07

Versions