การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • อารมย์ พรหมดี โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • นภาวรรณ จันเต็ม โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • มะลิเผย ผิวทอง โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโรงพยาบาลมุกดาหาร 

รูปแบบ : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  

วัสดุและวิธีการวิจัย : แบ่งเป็น 4 ระยะ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ใช้รูปแบบและ4) ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 20 คน ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 32 คน และญาติผู้ดูแล 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบบันทึกและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test

ผลการวิจัย : พบว่ารูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มี 3 องค์ประกอบ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติ 2) พัฒนาเครือข่ายพยาบาลและ 3) การพยาบาลตามทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสัน ผลลัพธ์การใช้รูปแบบ ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแล พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยมีคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) คะแนนเฉลี่ยระยะท้ายของชีวิตที่สงบตามการรับรู้ของผู้ป่วยและผู้ดูแลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001; p<.001)  ญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคองอยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติได้ตามแนวปฏิบัติ (88.33%) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก  (Mean=4.35, SD.=0.31)

สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบที่พัฒนาส่งผลดีต่อผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล สามารถนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Saran R, Robinson B, Abbott KC, Bragg-Gresham J, Chen X, Gipson D, et al. US Renal Data System 2019 Annual Data Report: Epidemiology of Kidney Disease in the United States. Am J Kidney Dis. 2020;75(1 Suppl 1):A6-A7.

GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990-2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. Lancet. 2020;395(10225):709-33.

มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์, สมจิตร สกุลคู, ณฤดี ทิพย์สุทธิ,วันเพ็ญ วิศิษฎ์ชัยนนท์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารกองการพยาบาล. 2563;47(1):190-208.

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560 – 2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.

พรรณธิพา ต้นสวรรค์, ทวี ศิริวงศ์. การดูแลแบบประคับประคอง :ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31 Suppl 5:S6-17.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้ง 8. กรุงเทพมหานคร: สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์; 2561.

โรงพยาบาลมุกดาหาร. สรุปผลงานของแผนกไตเทียม ปี 2563. มุกดาหาร: โรงพยาบาล; 2556.

วณิชา พึ่งชมภู. สถานการณ์การดูแลระยะสุดท้ายในผู้สูงอายุไทยโรคไตวายเรื้อรัง. พยาบาลสาร. 2557;41(4):166-77.

ภัทรศร นพฤทธิ์, อารมณ์ พรหมดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563;16(3):96–108.

จอนพะจง เพ็ญจาด. การใช้ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2553;3(1-3):1-17.

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์; 2556.

พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว, เยาวรัตน์ มัชฌิม, หทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการรับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งในระยะท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(2):315-23.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

สำนักการพยาบาล. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2559.

พิกุล นันทชัยพันธ์, ประทุม สร้อยวงศ์. แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก : การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยผู้ใหญ่=Clinical nursing practice guidelines : palliative care in adult patients. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ; 2558.

ประคอง อินทรสมบัติ, สุปรีดา มั่นคง, สมทรง จุไรทัศนีย์, สุลักษณ์ วงศ์ธีรภัค, วิลาวัณย์ ประสารอธิคม, ปาริชาติ พรสวัสดิ์ชัย, และคนอื่นๆ. การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง:การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. รามาธิบดี พยาบาลสาร. 2556;19(2):194-205.

กัลปังหา โชสิวกุล, แสงทอง ธีระทองคำ. การดูแลแบบองค์รวมชนิดประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบไม่ล้างไต: กรณีศึกษา. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35(4):5-17.

มารยาท สุจริตวรกุล. ผลของการใช้แนวทางการดูแลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ของการดูแลของผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2561;44(2):97-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-03 — Updated on 2023-11-03

Versions