การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการเสพติดสุราโดยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยเสพติดสุรา, การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการเสพติดสุรา โดยการ มีส่วนร่วมของสหวิชาชีพโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ร่วมวิจัยเป็นสหวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย 27 คน ศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ สังเกต บันทึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการเสพติดสุราโดยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ประเมินสภาพปัญหาผู้ป่วย 2) วางแผนการดำเนินงาน 3) ประชุมสหวิชาชีพ 4) จัดทำเครื่องมือ 5) พัฒนารูปแบบ 6) ดูแลผู้ป่วยตามรูปแบบที่พัฒนา 7) สังเกตการปฏิบัติและใช้รูปแบบ หลังจากนำรูปแบบไปใช้พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 40 ราย ชักซ้ำขณะนอนโรงพยาบาล (5.00%) ส่งต่อไปรับการรักษา (10.00%) เพื่อพบจิตแพทย์ เมื่อผ่านพ้นภาวะถอนพิษสุราส่งต่อพยาบาลจิตเวชเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยความสมัครใจ ผู้ป่วยสมัครใจเลิกสุรา (27.50%) ติดตามดูแลต่อเนื่องพบว่าเลิกสุราได้ (22.50%) เยี่ยมบ้านพบว่าเลิกสุราสำเร็จไม่กลับมาดื่มอีก (2.50%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ปัญหาการดูแลผู้ป่วยเสพติดสุรายากต่อการ Approach พยาบาลต้องใช้ทักษะและความพยายามในการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงนำมาวางแผนการรักษาได้ถูกต้องครอบคลุม
References
Anderson P, Cremona A, Paton A, Turnur C, Wallace P. The risk of alcohol. Addiction. 1993;88(11):1493-508.
Edwards G, Anderson P, Babor TF, Casswell S, Ferrence R, Giesbrecht N, et al. Alcohol policy and the public good. Oxford: Oxford University Press; 1995.
World Health Organization. Problem related to alcohol consumption: report of a WHO Expert Committee. Geneva: WHO; 1980.
ไทยแลนด์พลัส. สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุรา พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ไทยแลนด์พลัส; 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandplus.tv/archives/61486
ปริทรรศ ศิลปกิจ, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. AUDIT แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ทานตะวันเปเปอร์; 2552.
โรงพยาบาลอาจสามารถ. สถิติการให้บริการผู้ป่วยในปีงบประมาณพ.ศ.2562. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2562.
Holter IM, Schwartz-Barcott D. Action research: what is it? How has it been used and how can it be used in nursing? J Adv Nurs. 1993;18(2):298-304.
HREX.asia. PDCA : ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: HREX.asia; 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/
Blogger. 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://nursing62.blogspot.com/2019/09/11.html
อังกูร ภัทรากร, ธญรช ทิพยวงษ์, อภิชาต เรณูวัฒนานนท์, พัชรี รัตนแสง, วิมล ลักขณาภิชนชัช. แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์; 2558.
กรมสุขภาพจิต. กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติด (ฉบับทดลองใช้). กรุงเทพมหานคร: พรอสเพอรัสพลัส; 2563.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, ถนอมศรี อินทนนท์. รายงานผลการศึกษาเรื่องการเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.
กนกวรรณ พวงมาลีประดับ, สมบัติ สกุลพรรณ์, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. พยาบาลสาร. 2563;47(2):297-309.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง