การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยงต่อองค์ประกอบผลลัพธ์ ทางคลินิกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรม

ผู้แต่ง

  • จิราชัย เสน่ห์วงศ์ โรงพยาบาลเมืองสรวง
  • ดวงเดือน ศรีมาดี โรงพยาบาลเมืองสรวง
  • ทิพย์วัลย์ ตรีทศ โรงพยาบาลเมืองสรวง
  • นิธิมา มงคลชู โรงพยาบาลเมืองสรวง

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยง, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ สร้างรูปแบบ ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรกลุ่มเสี่ยง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action research: PAR)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 45 คน   การดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ นำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และประเมินและสะท้อนผล ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage difference

ผลการวิจัย : 1) สถานการณ์ปัญหาและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า กลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 45 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (57.80%) อายุเฉลี่ย 45.75 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 69.49 กิโลกรัม เส้นรอบเอวเฉลี่ย 88.80 เซนติเมตร ไม่สูบบุหรี่ (86.80%) ความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดการความเครียดอยู่ในระดับเหมาะสม 2) รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การสอนและฝึกทักษะการออกกำลังกาย การตั้งเป้าหมาย การเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้ความรู้ซ้ำในส่วนที่ขาด การใช้ต้นแบบ การติดตามทางไลน์หรือโทรศัพท์ และ     การจัดกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและประเมินผล และ 3) ผลลัพธ์หลังการพัฒนา พบว่ากลุ่มเสี่ยงเมตาบอลิกซินโดรม มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น (15.23%) ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น (12.55%) การจัดการความเครียดเพิ่มขึ้น (4.76%) การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น (2.95%) และเจตคติต่อการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น (2.76%) และเส้นรอบเอวลดลง (4.76%) ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง (11.35%) ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลง (6.73%) ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง (3.05%) ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิกลดลง (3.12%) และค่าไขมันเอชดีแอลเพิ่มขึ้น (8.61%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น

 

References

ละอองดาว คำชาตา, เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. โรคอ้วนลงพุง: สัญญาณอันตรายที่ต้องจัดการ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(4):385-95.

สุวรรณา มณีนิธิเวทย์. ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองผ่านระบบเครือข่ายสังคมต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2563;50(1):47-60.

โรงพยาบาลเมืองสรวง. สรุปรายงานการตรวจสุขภาพประจำปี พ.ศ.2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

กรมอนามัย. คู่มือกระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง (DPAC) สำหรับสถานบริการสาธารณสุข.นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้น; 2561.

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีรับผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. ชุมพร: โรงพยาบาล; 2565.

คเชนทร์ ชาญประเสริฐ. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การควบคุมค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562;1(2):133-45.

อัจฉราวดี เสนีย์, สมคิด ขำทอง, วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;10(4);55-70.

สำราญ กาศสุวรรณ, ทัศนีย์ บุญอริยเทพ, รุ่งกิจ ปินใจ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่มในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2565;30(2):27-42.

วาสนา สุริสาร. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงภาระโรคเมตาบอลิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสียว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566;8(1):39-47.

ไชยยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.

พรฤดี นิธิรัตน์, ราตรี อร่ามศิลป์, จารุณี ขาวแจ้ง, วรรณศิริ ประจันโน, เสาวภา เล็กวงษ์, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ที่อ้วนและมีไขมันในเลือดสูง ในจังหวัดจันทบุรี: กรณีประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(6):1025-34.

อภิสรา ตามวงค์, วราภรณ์ บุญเชียง, เดชา คำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2561;48(2):232-43.

กอบกุล กลีบบัว, นพวรรณ เปียซื่อ, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, สุกัญญา ตันติประสพลาภ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแก่วงแขนต่อภาวะโภชนาการในสตรีสูงอายุที่เสี่ยงต่อเมแทบอลิกซินโดรม. วารสารสภาการพยาบาล. 2561;33(1):27-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12 — Updated on 2023-10-12

Versions