ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กาญจนา โทหา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ความรู้, การปฏิบัติ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (One group pretest–posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาศึกษาเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ และแบบสอบถามการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน Paired t-test

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 61 - 70 ปี (40.0%) เป็นเพศหญิง (82.9%) สถานภาพสมรสคู่ (42.9%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. (51.4%) , อาชีพแม่บ้าน (34.3%) ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 11 - 20 ปี (37.1%) เคยมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (91.4%) เคยมีประสบการณ์การดูแลครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (85.7%) และหลังเข้าร่วมโปรแกรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยหลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรม (p<.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรม  (p<.001)   

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561_61.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานมาตรฐานกลาง 43 แฟ้ม. กลุ่มรายงานมาตรฐาน. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. 2nd ed. USA: Pearson Education; 2015.

Bloom BS, Madaus GF, Thomas JH. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

เพชรรัตน์ วิชา. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองในอาสาสมัครผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

อนันต์ พันธ์งอก. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุ สำหรับผู้มีอายุ 55-59 ปี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(5):854-64.

สุนทรีย์ คำเพ็ง, อรธิรา บุญประดิษฐ์. ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตําบลดงตะงาว อําเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2553;22(3):112-23.

มะลิ โพธิพิมพ์, วลัญช์ชยา เขตบำรุง, จุน หน่อแก้ว, จิรวุฒิ กุจะพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริมสขภาพในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;14(1):119-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-09