การพัฒนาระบบบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วินิช โสภาพล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

มูลฝอยติดเชื้อ, บริหารจัดการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา พัฒนาระบบ และประเมินผลระบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะติดเชื้อใน โรงพยาบาล 10 คน และผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีขยะติดเชื้อที่มารับบริการตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 จำนวน 12 คน ผู้ร่วมวิจัย 136 คน ผู้รับผิดชอบการจัดการขยะติดเชื้อ 7 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage differences

ผลการวิจัย : บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อและการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมติดเชื้อขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ ระบบบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดประกอบด้วยขั้นตอนการมอบหมายงาน การคัดแยกมูลฝอย การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ สถานที่พักรวม และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และผลการนำระบบฯ ไปทดลองใช้ พบว่า หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยรวมมากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการพัฒนา 0.67 คะแนน (95%CI: 0.61, 0.74) และมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น จำนวน 10,000 กิโลกรัม หรือ 100 ตันต่อปีเพิ่มขึ้น 4.21%

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119, ตอนที่ 86 ก. (ลงวันที่ 5 กันยายน 2545).

กรมควบคุมมลพิษ. คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อและขยะอันตรายเพิ่มขึ้น แนะจัดการอย่างถูกวิธี [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/pcd_news/20802

สุคนธ์ เจียสกุล. ความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2544.

เขมจิรา สายวงศ์เปี้ย. การศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในจังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

อุ่นเรือน ศิรินาค. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2561;4(2):40-52.

โรงพยาบาลรามาธิบดี. แนวทางปฏิบัติ เรื่องการทิ้งขยะในโรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาล; 2548.

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. แนวทางการจัดการมูลฝอยและของเสียอันตราย [อินเทอร์เน็ต]. เชียงราย: โรงพยาบาล; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://49.231.15.21/crhfileload/upload/files/esF256310291338532767.pdf

Chartier Y, Emmanuel J, Pieper U, Prüss A, Rushbrook P, Stringer R, et al. Safe management of wastes from health-care activities. 2 nd ed. Geneva: WHO; 2014.

ยศวรีย์ ชัยศรี, เยาวนิจ กิตติธรกุล, วดี สุขสาโรจน์. การพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน: ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34; 27 มีนาคม 2558; ณ อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น; 2558.หน้า 980-8.

วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในพนักงานทําความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(1):113-22.

ปาณิสา ศรีดโรมนต์. การศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเอกชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://env.anamai.moph.go.th/webupload/migrated/files/env/n1068_0ecc9dd29c37546e0b64b147d956cd4d_infectious040761.pdf

ณัฐณิชา อินทร์ติยะ, สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. การเปรียบเทียบองค์ประกอบและอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;16(1):14-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-09