การพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิริญญา โชติพันธ์ชินคำ โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ระบบบริการการผ่าตัด, การดูแลผู้ป่วย, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบบริการและประเมินผลลัพธ์ระบบบริการการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลกุมภวาปี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ.2566 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบบริการและประเมินผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแนวทางการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 พบปัญหาและความต้องการของ 1) ผู้ป่วยและญาติ เช่น ความเครียดและวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ ขาดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติและการดูแลก่อนและหลังผ่าตัด เวลาผ่าตัดไม่ชัดเจนส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เข้ารับการผ่าตัดตามกำหนดนัดและเกิดความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัด และ 2) ระบบการบริการ และการบริหารจัดการ เช่น แนวปฏิบัติ สถานที่ การประสานงานภายในเครือข่ายและผู้ปฏิบัติงาน ระยะที่ 2 ผู้วิจัยจึงได้นำสภาพปัญหาข้างต้นมาพัฒนาเป็นระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโดยได้รับตรวจสอบความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริงและ ระยะที่ 3 ผลการประเมินการพัฒนาระบบฯ พบว่า ผู้รับการบริการทั้งหมด10ราย ส่วนใหญ่มารับการผ่าตัดแก้ไขภาวะไส้เลื่อน 50%, ส่องตรวจลำไส้ใหญ่ 30%, และริดสีดวงทวาร 20% ตามลำดับ หลังจากได้รับการดูแลตามระบบฯ ที่พัฒนาขึ้นพบว่า ไม่พบการติดเชื้อหลังผ่าตัด อัตรากลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน (0.0%) และไม่พบภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวด บวมหรือเลือดออกส่วนการฟื้นสภาพพบว่า หลังผ่าตัด 2 ชั่วโมงสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ แต่มีอาการตึงแผลเล็กน้อยและยังไม่สามารถยกของหนักได้ภายใน 2 เดือน เพื่อป้องกันภาวะแรงดันในช่องท้องสูง

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้ได้ผลดีแต่มีข้อสังเกตสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้คือ กระบวนการเตรียมผู้ป่วยและญาติ ต้องมีการออกแบบการทำงานเป็นทีมร่วมกัน ทั้งศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลทุกระดับที่เกี่ยวข้อง และทีม Home ward

References

กรมการแพทย์. สำนักวิชาการแพทย์. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.

กรมการแพทย์. กองวิชาการแพทย์. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2562.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2565.

ชญานิศ ธัมธนพัฒน์. การพัฒนาระบบการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2564;6(1):57-63.

เบญจวรรณ มนูญญา, สกาวเดือน ขำเจริญ. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564;1(1):13-24.

Kemmis S, Taggart RM. The Action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University; 1988.

อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารเพทย์เขต 4-5. 2563;39(1):109-25.

กชพรรณ อัญฤาชัย, จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์, ภาศินี สุขสถาพรเลิศ. การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจกและบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนครบวงจร. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 2563;33(1):21-30.

ทวีชัย วิษณุโยธิน, กิตติวัฒน์ มะโนจันทร์. เป้าหมายเชิงคุณภาพและความปลอดภัย (Qualitative goals and Safety). ใน: ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์, ทวี รัตนชูเอก, กิตติวัฒน์ มะโนจันทร์, วิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์, บรรณาธิการ. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ปี 2565. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2565. หน้า 10-11.

พรทิพย์ มงคลสวัสดิ์. การพัฒนารูปแบบการบริการ การผ่าตัดผู้ป่วยโรคต้อกระจก แบบไม่ค้างคืนโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2558;12(1):71-6.

เยาวเรศ ก้านมะลิ. ผลการสอนแบบทีมการพยาบาลต่อภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ความวิตกกังวล และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนแบบวันเดียว โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):201-9.

ลลิดา ราชิวงศ์. การเปรียบเทียบผลการผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบระหว่างผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบนัดนอนโรงพยาบาลในโรงพยาบาลมุกดาหาร. สรรพสิทธิเวชสาร. 2563;41(3):93-100.

นิยม ชีพเจริญรัตน์, ชมพูนุช เนตรหาญ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการผ่าตัดไส้ติ่งแบบแผลเปิดวันเดียวกลับ: ประสบการณ์โรงพยาบาลยโสธร. วารสารกรมการแพทย์. 2565;47(2):86-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31