การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหาพัฒนารูปแบบ และประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 23ราย และทีมสหวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินค่าความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน (Inferential statistic) ได้แก่ Repeated Measure ANOVA
ผลการวิจัย : (1)ปัญหาการดูแลต่อเนื่องยังไม่ครอบคลุมทุกราย การสื่อสารส่งต่อข้อมูลในทีมสหวิชาชีพและในเครือข่าย และขาดความต่อเนื่องในการเยี่ยมบ้าน (2)รูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านประกอบด้วยขั้นตอนการรับผู้ป่วยการกำหนดวิธีการเยี่ยมการดำเนินงานของทีมเยี่ยม และการลงแบบบันทึกและ(3) ผลลัพธ์การเยี่ยมบ้านหลังการได้รับดูแลต่อเนื่องที่บ้านเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการได้รับดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
References
Hfocusเจาะลึกระบบสุขภาพ. รู้เร็วรอด "หลอดเลือดสมอง" ครองแชมป์สาเหตุผู้สูงอายุ พิการ-เสียชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/10/20381
กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันอัมพาตโลก ปี พ.ศ.2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/133619
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. งานการพยาบาลที่บ้านและชุมชน. สถิติรายงานการเยี่ยมบ้าน.ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาล; 2563.
Deming WE. Out of The Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study; 1986.
สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2559.
Cohen JM, Uphoff NT. Participation's place in rural development: Seek clarity through Specifies. World DevelopmentElsevier. 1980;8(3):213-35.
ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2563;17(3):112-24.
นงนุช เพ็ชรร่วง, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2557;37(4):37-45.
ยุวดี ผงสา. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563;2(2):139-53.
ณีรนุช วงค์เจริญ, ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์, พิสิษฐ์ สมงาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(4):61-71.
อาคม รัฐวงษา.การพัฒนาแนวทางการจัดการรายกรณีเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ต่อเนื่องที่บ้าน โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2561;24(1):22-39.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง