การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ ปากวิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมวัณโรค, ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนในคลินิกวัณโรคและกลุ่มผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานการป้องกันและควบคุมวัณโรค ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบ แบบสอบถามทะเบียนผู้ป่วย และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบสัดส่วนก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้ Percentage difference

ผลการวิจัย : รูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรค 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และ  ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน 3) การนำรูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านไปใช้และสะท้อนผลการปฏิบัติและ 4) การกำกับ ติดตาม และประเมินผลลัพธ์และหลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยรวมเพิ่มขึ้นคิดเป็น 20.5% และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง โดยรวมคิดเป็น 98.1% และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 37.2 % และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองโดยรวม คิดเป็น 95.3%

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคและผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีความรู้และการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.

กระทรวงสาธารณสุข. 5 เจ้าฟ้ากับงานต่อต้านวัณโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2550 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/งานต่อต้านวัณโรคในประเทศไทย_ครั้งที่3.pdf

กองวัณโรค. กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย (เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกุมภาพันธ์ 2564) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองวัณโรค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.tbthailand.org/statustb.html

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2564.

กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

อนุพันธ์ ประจำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2564;7(1):210-21.

ศรีสุรางค์ ดวงประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;10(3):522-34.

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.htm

พชรพร ครองยุทธ, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์, เจษฎา สุราวรรณ์, จักรกริช ไชยทองศรี, กชมน นรปติ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1):15-27.

อะเคี้อ อุณหเลขกะ. รายงานวิจัยการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่. นนทบุรี: สวรส; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26 — Updated on 2023-07-26

Versions