ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการแกว่งแขนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, การแกว่งแขน, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า (Exclusion criteria) จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval (95%CI)
ผลการวิจัย : พบว่าหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.56 คะแนน (95%CI;1.46,1.65) และกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.006) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 12.53 mg/dl (95%CI;3.62, 21.44)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพส่งให้กลุ่มตัวอย่างสามารถควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดได้
References
กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกมีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิตสูงถึง 6.7 ล้านคนหรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29611&deptcode=brc
Hfocus.orgเจาะลึกระบบสุขภาพ. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติประเมินทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 425 ล้านราย [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054
โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. งานยุทธศาสตร์. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2564.
วารุณี มากำเนิด. การพยาบาลดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับจิตเภทที่บ้าน.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(3):116-24.
นุสรา วิโรจนกูฎ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560;31(1):41-8.
วิชุตา บุษบงค์, นพพร โหวธีระกุล, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, เพชร รอดอารีย์, ดุสิต สุจิรารัตน์.บทบาทของแรงจูงใจในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ณ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2557;44(1):4-16.
พลอย ทรัพย์ไพบูลย์กิจ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้.พยาบาลสาร. 2564;48(4):80-92.
มาดีฮะห์ มะเก็ง. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วม [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
จันสุดา สืบพันธ์, เพลินพิศ บุณยมาลิก, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564;14(1):109-24.
รัตติกาล พรหมพาหกุล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์,ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, กีรดา ไกรนุวัตร.ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2563;38(2):32-45.
ดวงมณี วิยะทัศน์, อุไร ศิลปะกิจโกศล. ผลของโปรแกรมการจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลพนมสารคาม. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561;5(2):39-54.
พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;27(3):91-106.
อรวรรณ จุลวงษ์. แรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมสุขภาพของพลทหารกองประจำการ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):28-32.
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/115747
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง