ประสิทธิผลและความปลอดภัยของน้ำมันกัญชาในคลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
น้ำมันกัญชา, คลินิกกัญชาทางการแพทย์, คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจ, ความปลอดภัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชาในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการและได้รับน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ และได้รับการติดตามอย่างน้อย 1 ครั้ง ณ โรงพยาบาลหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 – 31 มีนาคม 2566 จำนวน 165 ราย จากเวชระเบียบอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ HOSxP และแบบบันทึกข้อมูล C-MOPH และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและหรือผู้ดูแลผู้ป่วย
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชา ทั้งหมด 165 ราย มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตจากการใช้น้ำมันกัญชาก่อนและหลังได้รับน้ำมันกัญชา (Mean=0.66 SD.=0.29) และ (Mean=0.81 SD.=0.26) ตามลำดับ ซึ่งพบว่าการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์มีผลเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย (p<.001) ด้านความปลอดภัยพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลทางห้องปฏิบัติการเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนให้การรักษา และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.08 SD.=0.16)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและความพึงพอใจดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้กัญชาในทางการแพทย์มากขึ้น
References
ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2547.
กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์ คลินิกบริการกัญชาทางการแพทย์ (Medical cannabis clinic) แบบผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ในสถานพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กอง: 2562.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 19 ก (ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562).
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 272 ง (ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565).
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30:607-10.
ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย, ศิริพร ปาละวงศ์, ทัศนีย์ กามล. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชา คลินิกกัญชาทาง การแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564;19(1):19-33.
กัญญาภัค ศิลารักษ์. ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา ต่อคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตใน
ผู้ป่วยนอก ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):1097-108.
วลีรัตน์ ไกรโกศล, อาสาฬา เชาวน์เจริญ, พลช แหลมหลวง, ณัฐดนัย มุสิกวงศ์, ผกากรอง ขวัญข้าว. ผลและความปลอดภัยของยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7 % ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่มารับบริการที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(3):50-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-06-20 (3)
- 2023-06-20 (2)
- 2023-06-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง