ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก

ผู้แต่ง

  • อรทัย สิริวัฒนพงษ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยสูงอายุ, กระดูกสะโพกหัก, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก และเปรียบเทียบสมรรถนะพยาบาลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก 70 คน พยาบาลวิชาชีพ 15 คน  ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมินสมรรถนะพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการและแนวปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage Difference

ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 33.9% ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ความพึงพอใจผู้รับบริการเพิ่มขึ้น 6.9 % วันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยลดลง 42.3% ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มผ่าตัดลดลง 7.3 % และกลุ่มที่ไม่ผ่าตัดลดลง 24.4% และส่งผลให้พยาบาลมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น 17.3%

สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติสามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการฟื้นหาย เพิ่มสมรรถนะพยาบาล ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักทั้งเครือข่าย

References

พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน, เยาวลักษณ์ สงวนพานิช. กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ: บทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2563;26(4):116-28.

Wongtriratanachai P, Luevitoonvechkij S, Songpatanasilp T, Sribunditkul S, Leerapun T, Phadungkiat S, et al. Increasing incidence of hip fracture in Chiang Mai, Thailand. Journal of clinical densitometry 2013;16:347-52.

อภิสิทธิ์ ตามสัตย์, สุภาพ อารีเอื้อ, สิริรัตน์ ลีลาจรัส. ความกลัวการหกล้มและความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558;7(1):64-82.

อนุชา เศรษฐเสถียร, ดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มแล้วกระดูกสะโพกหักของผู้สูงอายุที่รักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี. ลำปางเวชสาร. 2552;30(3):154-62.

เยาวลักษณ์ สงวนพานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก. ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 9-10 กรกฎาคม 2563; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2563. หน้า 1116-29.

จิณพิชญ์ชา มะมม. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562.

มลฤดี เพ็ชร์ลมุล, สุภาพ อารีเอื้อ. การชะลอการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก:ปรากฏการณ์ทางคลินิกที่ท้าทายการจัดการ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2552;15(2):233-48.

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. งานสถิติและข้อมูลการบริการ. สถิติหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและหอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์ชั้น 5. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล: 2565.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39(2):175-91.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America. 2000;35(2):301-9

อัจฉรา คำมะทิตย์, มัลลิกา มากรัตน์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):246-59.

พิชญา ศรีเกลื่อนกิจ, แพรวพรรณ์ พิเศษ. ผลของแนวทางปฏิบัติทางคลีนิคในการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558;26(1):130-40.

สุขฤทัย วิโรจน์ยุติ, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, สุปรียา ตันสกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):187-94.

ลมัย รอดทรัพย์, อรนิต สุวินทรากร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;21(1);22-33.

ส่องศรี หล้าป่าซาง, ณิชกานต์ ไชยรังสี, ศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล, วรพจน์ ปลื้มฤดี. ประสิทธิผลของรูปแบบ Fracture Liaison Service ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหัก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 2564;1(1):40-54.

ปราณี มีหาญพงษ์, สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์, ชุติมา บ่ายเที่ยง. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลการผ่าตัดเร่งด่วนในผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2566; 33(1):147-60.

สุปรีดา มหาสุข, เชาวน์ศิลป์. ผลของการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลนครปฐม. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; วันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2564; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม; 2564. หน้า 1203-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12