ผลของโปรแกรมยกระดับชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มวัยทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะอาด

ผู้แต่ง

  • พงษ์สันต์ ฮามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • จันทร บุตรพรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะอาด

คำสำคัญ:

ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะอาด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบวัดสองกลุ่ม       ก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-posttest two-group design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มวัยทำงานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) จำนวน 132 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 66 คน ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบ Normal distribution assumption โดยใช้สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Student’s t-test

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพคะแนนมากกว่า 2.16 คะแนน (95%CI :2.01, 2.28) และกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพคะแนนมากกว่า 1.50 คะแนน (95%CI :1.33, 1.66)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Intervention ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานเพิ่มขึ้น

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสุขศึกษา. แนวทางการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: 25 มีเดีย; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ร้อยเอ็ด: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2564.

กองสุขศึกษา. สรุปผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (วัยทำงานและวัยเรียน) ในพื้นที่ดำเนินการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับย่อ). นนทบุรี: กลุ่มแผนงานและประเมิน กองสุขศึกษา; 2564.

สุภาพร มงคลหมู่, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2565;17(2):168-75.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 2560;44(3):183-97.

Ho TG, Hosseinzadeh H, Rahman B, Sheikh M. Health literacy and health-promoting behaviours among Australian-Singaporean communities living in Sydney metropolitan area. Proceedings of Singapore Healthcare. 2018;27(2):125-31.

Goto E, Ishikawa H, Okuhara T, Kiuchi T. Relationship of health literacy with utilization of health-care services in a general Japanese population. Prev Med Rep. 2019;14:100811.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง; 2562.

ชาตรี แมตสี่, ศิวีไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560;9(2):96-111.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความ ดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา; 2564.

ภคภณ แสนเตชะ, ประจวบ แหลมหลัก. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปีม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 2563;43(2):150-64.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ, วริศรา ปั่นทองหลาง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม ของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้.วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 2564;34(2):71-86.

สุรสิทธิ์ แจ้งภักดี. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2565.

เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อนุชิต สว่างแจ้ง, คัทลิยา วสุธาดา, ดาราวรรณ รองเมือง, โรจน์เมธิศร์ ไวยกูล. การพัฒนาชุมชนรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงตามแนวคิดตำบลจัดการคุณภาพชีวิตตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2565;33(1):136-52.

Bandura A. Social Foundations of Thought and Action A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall; 1986.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-15 — Updated on 2023-06-02

Versions