โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอ โพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบสองกลุ่ม Two–groups pretest-posttest design
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ระยะเวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจาก The Summary of Diabetes Self-Care Activities (SDSCA) ค่า CVI ได้ 0.85 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและ Mann-Whitney U test และ Shapiro wilk test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนมัธยฐานพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Intervention ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานจัดโปรแกรมฯ อย่างต่อเนื่อง
References
กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี2560 – 2564) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020
Wu CJ, Chang AM. Application of a theoretical framework to foster a cardiac-diabetes self- management programme. Int Nurs Rev. 2014;61(3):336-43.
โรงพยาบาลโพนทราย. งานผู้ป่วยนอก. รายงานประจำปี 2565. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2565.
Bandura A. Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1986.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2 nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2562;25(2):87-103.
บุญฤทธิ์ เฮ็งไล้. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์. 2559;13(30):151-60.
อุมากร ใจยั่งยืน, สุภาภรณ์ วรอรุณ, สาวิตรี ศิริผลวุฒิชัย. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2564;35(2):94-108.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-06-02 (2)
- 2023-05-15 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง