การพัฒนาร้านยาเพื่อเป็นหน่วยบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้าน (OP Self Isolation: OPSI)

ผู้แต่ง

  • ธีราวุฒิ มีชำนาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาร้านยา, โควิด-19, แยกกักตัวที่บ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบบริการของร้านยาให้ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามข้อกำหนดของ สปสช. และการประเมินผลปริมาณงานและต้นทุนค่ายา ในการให้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นร้านยาที่ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการของสปสช. 5 แห่ง ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม – 31 ตุลาคม 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลการให้บริการ ประเมินปริมาณงาน ต้นทุนยา ใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : พบว่า (1) ร้านขายยาเข้าร่วมการพัฒนาทั้งหมด 5 ร้าน มีผลลัพธ์การให้บริการ (Outcomes) คือผู้ป่วยได้รับการคัดกรองความเสี่ยงและประเมินอาการ 856 ราย ให้คำแนะนำเข้ารักษาในโรงพยาบาล 153 ราย มีผู้เข้าเกณฑ์รับบริการแบบ OPSI และลงทะเบียนในระบบ A-med care 703  โดย 681รายได้รับคำแนะนำและประเมินอาการภายใน 24 ช.ม.  มี 632 ราย ได้รับการติดตาม ประเมินการใช้ยาเมื่อครบ 72 ช.ม. 348 ราย ได้รับการติดตาม ประเมินการใช้ยาวันที่ 4-7 พบมีส่งต่อ 2 ราย 323 ราย หายจากอาการป่วยและผลตรวจ ATK self- test เป็นลบ และได้รับเอกสารรับรองการกักตัว 288 ราย (2) การให้บริการทางเภสัชกรรมของร้านยา พบว่า มีผู้รับบริการทั้งหมด 703 ราย อายุเฉลี่ย 31 ปี 621 รายได้รับยาภายใน 24 ชั่วโมง มี 116 ราย าอาการดีขึ้นเมื่อครบ 72 ชั่วโมง 433 ราย อาการดีขึ้นใน 4-7 วัน เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา 15 ราย ปัญหาการใช้ยาได้รับการแก้ไข 24 ราย ส่งต่อ 2 ราย และติดเชื้อซ้ำ 4 ราย

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ร้านยาสามารถเป็นหน่วยบริการและให้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอกได้ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ

References

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการ ติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง 1 มีนาคม 2565 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=161

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650518154445PM_CPG_COVID-19_v.23_n_20220518.pdf

สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรมที่56/2563 เรื่องการกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สภาเภสัชกรรม; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pharmacycouncil.org/index.phpoption=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0

กรมการแพทย์. การจัดบริการ HOME ISOLATION กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมการ แพทย์; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-15 — Updated on 2023-06-19

Versions