ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองและกระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าตามา
คำสำคัญ:
การกำกับตนเอง, กระบวนการกลุ่ม, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าตามา
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 136 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 68 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองและกระบวนการกลุ่ม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) 0.93 และเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน % difference และสถิติที (Independent t-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.08 คะแนน (95%CI; 0.98,1.19); คะแนนเฉลี่ยการออกกำลังกายมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.71 คะแนน (95%CI; 1.52, 1.91) และระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติเพิ่มขึ้นจาก 21 คน เป็น 53 คน คิดเป็น 50.39% และระดับ Impaired Fasting Glucose (IFG) ลดลงจาก 47 คน เป็น 15 คน คิดเป็น 83.12%
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักสารนิเทศ. กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกฯ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:สำนักสารนิเทศ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าตามา. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขประจำปี พ.ศ.2564 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล; 2564.
วิกฤตนรากรณ์ คงแดง. การประมาณค่าต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;2(2):54-61.
กัลยารัตน์ รอดแก้ว, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, วรรณรัตน์ ลาวัง. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2561;11(2):13-28.
Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1986.
Winett RA, Davy BM, Savla J, Marinik EL, Kelleher SA, Winett SG, et al. Theory-based approach for maintaining resistance training in older adults with prediabetes: Adherence, barriers, self-regulation strategies, treatment fidelity, costs. Transl Behav Med. 2015;5(2):149-59.
เอกชัย คำลือ, ทัศนีย์ บุญอริยเทพ. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงานในตำบลร้องเข็ม จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2555;8(2):122-35.
จันทร์ฉาย จารนัย, ผจงจิต ไกรถาวร, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวโดยใช้รามาโมเดลต่อพฤติกรรมสุขภาพภาวะโภชนาการ และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน. วารสารเกื้อการุณย์. 2559;23(1):41-59.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. หนังสือแนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.
วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร, ปิยะธิดา นาคะเกษียร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2562;37(1):59-72.
กาญจณา พรหมทอง. ผลของโปรแกรมเสริมพลังชุมชนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.
ทิพย์สุมน จิตตวงศพันธุ์, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, รุ้งนภา ชัยรัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร. 2564;48(4):243-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง