การรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ปฐมาภรณ์ อุดานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • พเยาวดี แอบไธสง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • บารเมษฐ์ ภิราล้ำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การรับรู้ข่าวสาร, พฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19, หลังการเปลี่ยนผ่าน, โรคประจำถิ่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครพนม

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytic cross-sectional study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 440 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Pearson product-moment correlation coefficient และMultiple linear regression by backward elimination technique กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย : พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (63.86%) อายุระหว่าง 15-76 ปี (เฉลี่ย 41.0 ปี, SD ± 12.6) เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (99.09%) เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 (47.73%) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ข่าวสารอยู่ในระดับดี (79.09%) พฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี (56.36%) จำนวนเข็มของการฉีดวัคซีนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 (r=0.20, p<.001) และปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (beta=0.09, p=.01) การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดบ้าน (beta=0.09, p=.01) การแยกห้องนอนเป็นสัดส่วนภายในบ้าน (beta=0.10, p=.01) ระดับการศึกษา (beta=0.14, p<.001) การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผ่านสื่อประเภทบุคคล (beta=0.22, p<.001) และการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผ่านสื่อประเภทสื่อสารมวลชน (beta=0.41, p<.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่เน้นเรื่องการสื่อสารผ่านสื่อและบุคคลที่น่าเชื่อถือเพื่อให้เกิดความรู้และความตระหนักในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 และกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการดูแลตนเองและการทำความสะอาดบ้านเรือนของประชาชน

References

JHU CSSE. COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) [Internet]. Maryland: Johns Hopkins University; 2022 [cited 2022 Nov 15]. Available from: https://coronavirus.jhu.edu/map.html.

World Health Organization. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. Geneva: WHO; 2022 [cited 2022 Nov 15]. Available from: https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/tracking-SARS-CoV-2-variants.

กรมควบคุมโรค. รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563, พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139, ตอนพิเศษ 223 ง (ลงวันที่ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565).

สิทธิพร เขาอุ่น, รวงทอง ถาพันธ์, นันทิกา บุญอาจ. พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ. 2565;5(4):147–58.

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, วราพรรณ อภิศุภะโชค. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(9):18-33.

Poonaklom P, Rungram V, Abthaisong P, Piralam B. Factors associated with preventive behaviors towards coronavirus disease (COVID-19) among adults in Kalasin Province, Thailand. OSIR. 2020;13(3):78-89.

รัชนี เต็มอุดม, ศิริลักษณ์ ใจช่วง, กนกพร ไทรสุวรรณ์, พเยาวดี แอบไธสง, บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(1):1-13.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row Ltd.; 1973.

Namwat C, Suphanchaimat R, Nittayasoot N, Iamsirithaworn S. Thailand’s response against Coronavirus disease 2019: challenges and lessons learned. OSIR. 2020.;13(1):33-7.

McLeod DM, Wise D, Perryman M. Thinking about the media: A review of theory and research on media perceptions, media effects perceptions, and their consequences. Review of Communication Research. 2017;5:35-83.

Karasneh R, Al-Azzam S, Muflih S, Soudah O, Hawamdeh S, Khader Y. Media's effect on shaping knowledge, awareness risk perceptions and communication practices of pandemic COVID-19 among pharmacists. Res Social Adm Pharm. 2021;17(1):1897-902.

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 2005.

Safari Z, Fouladi-Fard R, Vahidmoghadam R, Hosseini MR, Mohammadbeigi A, Omidi Oskouei A, Rezaali M, Ferrante M, Fiore M. Awareness and Performance towards Proper Use of Disinfectants to Prevent COVID-19: The Case of Iran. Int J Environ Res Public Health. 2021; 18(4):2099.

Likert R. The method of constructing and attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley & Sons; 1967.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th ed. Cape Town: Pearson Education; 2006.

StataCorp. Stata statistical software: release 13. College Station, TX: StataCorp LP; 2013.

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่:กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(ฉบับเพิ่มเติม 2):S247-59.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):19-30.

Uchibori M, Ghaznavi C, Murakami M, Eguchi A, Kunishima H, Kaneko S, et al. Preventive Behaviors and Information Sources during COVID-19 Pandemic: A Cross-Sectional Study in Japan. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(21):14511.

สถาบันบำราศนราดูร. ข้อแนะนำแนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ กรณีโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel Corona virus: nCoV) (ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563). นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2563.

Hyun M, Lee JY, Kwon YS, Kim JY, Park JS, Park S, et al. COVID-19: Comparing the applicability of shared room and single room occupancy. Transbound Emerg Dis. 2021;68(4):2059-65.

Dhama K, Patel SK, Kumar R, Masand R, Rana J, Yatoo MI, et al. The role of disinfectants and sanitizers during COVID-19 pandemic: advantages and deleterious effects on humans and the environment. Environ Sci Pollut Res Int. 2021;28(26):34211-28.

Nanthamongkolchai S, Taechaboonsermsak P, Tawatting K, Suksatan W. Health-Risk Behaviors, COVID-19 Preventive Behaviors, and the Impact of the COVID-19 Pandemic on the Working-Age Population of Bangkok, Thailand. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(20):13394.

Arovah NI, Kurniawaty J, Haroen H. Factors Associated With Physical Activity and COVID-19 Preventive Behaviors: A Cross-Sectional Study in Indonesian Adults. JPSS. 2023;31:318-36.

Olum R, Chekwech G, Wekha G, Nassozi DR, Bongomin F. Coronavirus Disease-2019: Knowledge, Attitude, and Practices of Health Care Workers at Makerere University Teaching Hospitals, Uganda. Front Public Health. 2020;8:181.

Ghazy RM, Ashmawy R, Hamdy NA, Elhadi YAM, Reyad OA, Elmalawany D, et al. Efficacy and Effectiveness of SARS-CoV-2 Vaccines: A Systematic Review and Meta-Analysis. Vaccines (Basel). 2022;10(3):350.

Tran VT, Perrodeau E, Saldanha J, Pane I, Ravaud P. Efficacy of first dose of covid-19 vaccine versus no vaccination on symptoms of patients with long covid: target trial emulation based on ComPaRe e-cohort. BMJ Med. 2023;2(1):e000229.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์