ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกย่างอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของครอบครัว, ความรู้, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่างจำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มๆ ละ 43 คน กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว 7กิจกรรมระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบบันทึกการตรวจร่างกายวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรผลลัพธ์ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง 12 สัปดาห์พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 6.69 คะแนน (95%CI; 5.41, 7.97) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ(p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่า 0.84คะแนน (95%CI; 0.69, 0.99) ; หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Systolic Blood Pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Systolic Blood Pressure น้อยกว่า 18.27มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 12.15, 24.40) และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Diastolic Blood Pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Diastolic Blood Pressure น้อยกว่า 23.07มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 19.04, 27.09)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ส่งผลให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่วน Systolic Blood Pressure และ Diastolic Blood Pressure ลดลง
References
กรมควบคุมโรค.กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 (2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension). เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2562.
ภัทระ แสนไชยสุริยา, บังอร เทพเทียน, ปาริชาติ จันทร์จรัส, ภูษิต ประคองสาย, กุมารี พัชนี, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. รายงานผลการศึกษาโครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2562. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2563.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรรัมย์. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล; 2564.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, กมลพรรณ วัฒนากร, ขวัญตา กลิ่นหอม, พัชรนันท์ รัตนภาค. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง.Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn Universityสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;3(3):1-14.
สุตาภัทร ประดับแก้ว. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
ฉัตรลดา ดีพร้อม, นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. J Sci Technol MSU.2562;38(4):451-61.
Soltani S, Shirani F, Chitsazi MJ, SalehiAbargouei A. The effect of dietary approaches to stop hypertension (DASH) diet on weight and body composition in adults: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled clinical trials. Obes Rev. 2016;29(4):442-54.
ภทพร บวรทิพย์, อทิชาติ ใจใหม่. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามแนวทางต้านโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2562;42(4):132-39.
Saneei P, Salehi-Abargouei A, Esmaillzadeh A, Azadbakht L. Influence of dietary approachesto stop hypertension (DASH) diet on blood pressure: A systematic review and meta- analysis on randomized controlled trials. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2014;24(12):1253-61.
อัมพร บวรทิพย์, วชิระ สุริยะวงค์, จุฑามาศ กิติศรี. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสิทธิผลของโปรแกรมควบคุมการรับประทานอาหารต้านโรคความดันโลหิตสูงต่อความดันโลหิตในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562;6(1):14-25.
จินตนา นุ่นยะพรึก, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นิรัตน์ อิมามี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารสุขศึกษา. 2562;42(1):190-203.
นวพร วุฒิธรรม, พิมพ์นิภา ศรีนพคุณ, ชุติมา สีนวล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจากการมีส่วนร่วมของครอบครัว: กรณีศึกษาโรงพยาบาลดำเนินสะดวกในจังหวัดราชบุรี. พยาบาลสาร. 2562;46(2):70-82.
เพ็ญศรี สุพิมล. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
วิริยา สุขวงศ์, ธนพร วรรณกูล, ชลิดา โสภิตภักดีพงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2554.
ไชยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชครินทร์; 2560.
ภัทร แสนธรรมมา. ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจของครอบครัวต่อการมีพลังอำนาจในการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
เนติยา แจ่มทิม, สินีพร ยืนยง, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2559;22(1):65-76.
วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา, สุภาพร แนวบุตร, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 2562;46(2):95-107.
ลลิตา บุญงาม, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อระดับความดันโลหิตของสตรีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(1):82-94.
เกสราวรรณ ประดับพจน์, ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(5):148-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง