ผลของโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • พีรนุตริ์ ศรชัยเลิศสกุล โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ลดความเสี่ยง, การป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-80ปีจำนวน 64 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกจำแนกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนมิถุนายน 2565 ระยะเวลาดำเนินการ 16 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Kolmogorov-Smirnov one sample test, Independent t-testและกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95%Confidence Interval

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มด้านการสร้างเสริมสุขภาพตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.42 คะแนน(95%CI: 1.20,1.64) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มด้านการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.39 คะแนน(95%CI: 1.15,1.63) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มด้านการจัดและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุม  (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.43 คะแนน(95%CI: 1.21,1.64)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการลดความเสี่ยงและป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุได้

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2565.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ.ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):186-94.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2559;5(2):119-31.

จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี. หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 26 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/หกล้มในผุ้สูงอายุ-อันตร/

ศศิมา ซีพัฒน์, เพลินพิศ สุวรรณอำไพ, ทัศนีย์ รวิวรกุล.ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(ฉบับพิเศษ):97-112.

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. งานยุทธศาสตร์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2566.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, ภัทรพร คงบุญ.รายงานวิจัยโครงการศึกษานโยบายและการดําเนินงานการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); 2563.

ภาวดี วิมลพันธุ์, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2556.

Rosner BA.Fundamental of Biostatistics. 5thed. Pacific Grove: Duxbury; 2000.

สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล, ระวิวรรณ นิวาตพันธ์, พวงสร้อย วรกุล, จรรยา อดุลยศักดิ์, พันธุ์จง หาญวิวัฒนกุล. คุณค่าและการวิเคราะห์ปัจจัยของเจริแอทริคซ์ ดีเปรสชั่นสเกลในผู้สูงอายุไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2537;38(7):383-89.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.

พรทิพย์ จุลบุตร.ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสร้างนิสัยต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2554.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.

ชุลี ภู่ทอง. ผลของโปรแกรมการลดความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่บ้าน[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

Pender NJ, Murdaugh CL,Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall; 2002.

Kolb DA. Experiential Learning Experience as the Source of Learning andDevelopment. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall; 1984.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นิพพาภัทร สินทรัพย์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยอีสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1):26-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-23

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์