การพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานการตรวจสอบภายในของหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กาญจนา โทหา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • นิตยาพร พันโน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การตรวจสอบภายใน, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนาและประเมินประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action  Research : PAR)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ประชากร ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานการเงิน การบัญชีและพัสดุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 18 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และด้านพัสดุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 54 คน ตั้งแต่เดือนมีนาคม –  สิงหาคม 2565 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการตรวจสอบภายใน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน Paired t-test

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (79.6%) อายุ 46- 55 ปี (33.3%) สถานภาพสมรสคู่ (64.8%) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (63.0%) อาชีพรับราชการ (98.1%) ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข/เจ้าพนักงานทันตกรรม (35.2%) รายได้ 30,001 บาทขึ้นไปต่อเดือน (61.1%) ทัศนคติและพฤติกรรมการตรวจสอบภายในอยู่ในระดับสูง (100.0%) ขั้นตอนการพัฒนาประสิทธิผลการตรวจสอบภายในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา 2) สอบถามความรู้ ทัศนคติพฤติกรรม 3) การเสริมสร้างสมรรถนะ 4) จัดทำคู่มือ 5) จัดทำแบบสอบทาน 6) กำกับ ติดตามและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรม (p<.001) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : การอบรมให้ความรู้ และการจัดทำคู่มือแนวทางการตรวจสอบภายใน ส่งผลให้หน่วยบริการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ถูกต้องมากขึ้น  

References

กระทรวงการคลัง. ที่ กค 0408/ว.107 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551. 18 กันยายน 2551.

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

ประไพพรรณ โสภา, ขจิต ณ กาฬสินธุ์, อุระวี คําพิชิต. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ทางการตรวจสอบภายในกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2561;13(1):65-83.

รมิตา อินใส, วรวิทย์ เลาหะเมทนี. ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2562;1(2):20-35.

อาทิตยา ติวงค์. ประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-14_1632293297.pdf

อรพรรณ แสงศิวะเวทย์. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน [วิทยานิพนธ์].ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

สุธิดา เจริญผล. ผลกระทบของระบบควบคุมภายในด้านบัญชีและการเงินที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในอุตสาหกรรมการบริการเขตภาคกลาง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-20

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์