ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบ ในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การดูแลสุขภาพช่องปาก, ปอดอักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินการปฏิบัติของพยาบาล เปรียบเทียบคะแนนสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 จำนวน 25 คน และผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 76 คน และสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุม 38 คน กลุ่มทดลอง 38 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของพยาบาลและผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลการดูแลสุขภาพช่องปาก แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ แบบประเมินสภาพช่องปากของผู้ป่วย แบบรายงานการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลช่องปาก วิธีการวิจัย ได้แก่ ประเมินการปฏิบัติของพยาบาลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมให้การพยาบาลดูแลสุขภาพช่องปากตามปกติ และผู้ป่วยกลุ่มทดลองให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลดูแลสุขภาพช่องปากต่อการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Independent t-test
ผลการวิจัย : พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพทั้งหมด อายุเฉลี่ย 29.76 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี (100.00%) ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 6.6 ปี ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพช่องปาก (100.00%) หลังนำแนวปฏิบัติไปใช้พยาบาลประเมินสุขภาพช่องปากได้ถูกต้อง (86.00%) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่ได้ปฏิบัติ พยาบาลเลือกใช้แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่เหมาะกับสภาพผู้ป่วย (96.00%) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เตรียมเฉพาะไม้พันสำลีกับน้ำยาบ้วนปาก พยาบาลทำความสะอาดช่องปากโดยใช้แนวปฏิบัติสม่ำเสมอ (96.00%) เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ไม่มีแนวปฏิบัติ 2) ด้านผู้ป่วย แบ่งเป็น 2.1 กลุ่มควบคุม 38 คน อายุเฉลี่ย 71.5 ปี วันนอนเฉลี่ย 16.21 ปี จำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจ 8.34 วัน การวินิจฉัยโรค ปอดอักเสบ (Pneumonia) (84.21%) มี Platelet count มากกว่า 140,000 cell/mm3 (100.00%) 2.2 กลุ่มทดลอง 38 คน อายุเฉลี่ย 68.39 ปี วันนอนเฉลี่ย 13.68 ปี จำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจ 6.31 วัน การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่เป็นปอดอักเสบ(Pneumonia) (86.84%) มี Platelet count มากกว่า 140,000 cell/mm3 สภาพช่องปากผู้ป่วยระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่าในวันที่ 1 (Mean diff.= 0.44; 95%CI: 0.32-1.22, p=.251) และวันที่ 3 (Mean diff.= 0.71; 95%CI: 0.09-1.32, p=.224) ไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่ในวันที่ 5 กลุ่มทดลองมีสภาพช่องปากสะอาดกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff.=0.86; 95%CI: 0.29-1.43, p=.003) ส่วนภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มทดลองไม่พบภาวะปอดติดเชื้อ (100.00%) ส่วนในกลุ่มควบคุมพบภาวะปอดติดเชื้อ VAP (7.89%)
สรุปและข้อเสนอแนะ: แนวปฏิบัติการพยาบาลดูแลสุขภาพช่องปากป้องกันการเกิด VAP ได้
References
ตระการตา แซ่ฉั่ว, มลฤดี คงวัฒนานนท์, ใจรพร บัวทอง, สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและการเกิดปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติ:การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(4):46-63.
วินิตย์ หลงละเลิง, เรณู ชมพิกุล, เมธาร์ ศิริวัฒนสาธร. ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากต่อองค์ความรู้ของพยาบาล และภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2565;7(1):1-17.
Mori H, Hirasawa H, Oda S, Shiga H, Matsuda K, Nakamura M. Oral care reduces incidence of ventilator-associated pneumonia in ICU populations. Intensive Care Med. 2006;32(2):230-36.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007;39(2):175-91.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Routledge; 1988.
วินิตย์ หลงละเลิง, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจในภาวะวิกฤต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2559;27(1):98-113.
เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2562;25(1):25-42.
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, นพกมล ประจงทัศน์. แนวทางป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP): การทบทวนเนื้อหาจากงานวิจัย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2022;9(2):269-78.
กนกพรรณ งามมุข, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การดูแลความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยวิกฤตเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วชิรสารการพยาบาล. 2559;18(2):1-11.
วินิตย์ หลงละเลิง, ปริศนา ปทุมอนันต์. ผลการดูแลสุขภาพในช่องปากจากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital.tu.ac.th/ndtuh/upload/addsome/files/2022032410530414.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง